รูปถ่าย

บล๊อกนี้ใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

การปกครองระบอบเผด็จการ

ความหมายของระบอบเผด็จการ

ระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการ หมายถึง ระบบการเมืองการปกครองที่ให้ความสำคัญกับผู้ปกครองหรือรัฐบาลมา กกว่าเสรีภาพส่วนบุคคล ประชาชนไม่มีสิทธิเข้าไปมีส่วนในการปกครอง เป็นแต่เพียงต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือนโยบายของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด

ระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการทุกรูปแบบ จะยึดหลักการที่เหมือนกัน คือ ปรัชญาการใช้กำลัง ซึ่งถือว่าผู้เข้มแข็งมี อิทธิพลและกำลังย่อมมีสิทธิได้รับอำนาจการปกครอง โดยถือว่าอำนาจคือ ธรรม แนวคิดในเรื่องเผ็ดการทางการเมืองส่วนใหญ่มักจะมองจากข้อเขียนและแนวปฏิบัติของ เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำของ อิตาลี และ อดอร์ฟฮิตเลอร์ ผู้นำของเยอรมนีในช่วงสงครามครั้งที่สองแต่ความจริงเผด็จการมีมาแต่โบราณกาลแล้ว ซึ่งอาจแบ่งความหมายของเผ็ดการได้เป็น 3 ฐานะด้วยกัน คือ

1.เผด็จการในฐานะที่เป็นแนวคิดทางการเมือง แนวคิดทางการเมืองของระบอบเผด็จการเชื่อว่ารัฐเป็นเสมือนผู้ที่ เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมดี ความถูกต้อง และความยุติธรรม รัฐเป็นผู้ถ่ายทอดความดีงามเหล่านี้ไปสู่ประชาชน ประชาชนจึงมีหน้าที่ที่จะต้องเชื่องฟัง ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐ ส่วนตัวแทนของรัฐออกคำสั่งให้ประชาชนปฏิบัติตาม ก็คือ ผู้นำ ซึ่งอาจมีผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดเพียงผู้เดียว หรืออาจเป็นกลุ่มผู้นำก็ได้ อุดมการณ์ของระบบเผด็จ การนั้นถือว่าผู้นำเป็นผู้ที่มีลักษณะพิเศษ ที่สามารถล่วงรู้เจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างถูกต้องการกระทำได ของผู้นำจึงเป็นการกระทำไปด้วยเจตนารมณ์ของประชาชน ผู้นำจึงอยู่ในฐานะที่ทำอะไรได้ทุกอย่างโดยไม่มีความผิด ฉะนั้นการ ที่มีผู้ขัดขวางหรือไม่เห็นด้วยกับผู้นำจะถูกกล่าวหาเป็นผู้หวังจะทำลายชาติและประชาชน
2.เผด็จการในฐานะที่เป็นรูปแบบการปกครอง การปกครองเผด็จการโดยทั่วไป หมายถึงระบอบร่วมอำนาจของผู้ปกครอง คือ ผู้ปกครองต้องยึดอำนาจรัฐไว้ได้ ส่วนใหญ่มักจะใช่วิธีการรุนแรงในการได้มาซึ่งอำนาจนั้น เช่น การทำรัฐประหารโดยผู้นำรัฐประหารหรือผู้นำเผด็จเหล่านี้พยายามใช่วิธีการทุกอย่างเพื่อที่จะรักษาอำนาจนั้นไว้ และขยายอำนาจเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจมีการจัดสรรตำแหน่งทางการเมือง ที่สำคัญๆในระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ผู้ใกล้ชิดหรือญาติมิตรคุมกองกำลังที่ มีอาวุธทั้งทหารและตำรวจ
3.เผด็จการในฐานะที่เป็นวิธีชีวิต หมายถึง ความเชื่อ ค่านิยม แนวคิด ตลอดจนแนวปฏิบัติของคนในสังคม ซึ่งอาจเป็นสังคมประชาธิปไตยก็ได้ โดยมีความเชื่อว่าคนเราเกิดมาแต่ละคนย่อมมีความแต่ต่างกันในทุก ด้าน ผู้ที่ด้อยกว่าต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้ ที่เหนือกว่า ทั้งนี้ เพื่อจะให้สังคมอยู่รอดปลอดภัยและก้าวหน้าอย่างเป็นเอกภาพ ความเชื่อระบอบเผด็จการกลุ่มนี้จึงพยายามไม่ให้ความขัดแย้งขึ้น ในสังคมซึ่งเสมือนเป็นตัวบ่อนทำลายเสถียรของสังคมและนิยมใช้อำนาจในการ ขจัดขัดแย้งมากกว่าที่จะใช้วิธีการประนีประนอม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น