นโยบายบริหาร
พรรคเพื่อไทยมีนโยบายในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการบริหารที่สำคัญคือ ปรับเปลี่ยนกลไกการทำงานของภาครัฐให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการปรับปรุงวิธีคิดและทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน บนพื้นฐานของหลักการการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและสาธารณชน
การพัฒนระบบราชการ เป็นนโยบายการบริหารที่มีความสำคัญเร่งด่วน พรรคมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาระบบราชการต่อเนื่องจากการปฏิรูปราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของภาครัฐจากผู้ปฏิบัติและควบคุม มาเป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวก ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างแท้จริง โดยปรับปรุงการบริหารการจัดการ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่อย่างมีหลักการสมเหตุ สมผล มีความรับผิดชอบ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การสร้างความโปร่งใสเปิดเผยของระบบราชการ โดยเฉพาะความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และการบริหารจัดการที่สามารถคาดคะเนผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน
ปรับเปลี่ยนแนวความคิดของการบริหารราชการที่มีลักษณะของการปกครอง มาเป็นการบริหารราชการในเชิงของการพัฒนา โดยประสานความร่วมมือของหน่วยราชการทุกหน่วย ให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพในทิศทางเดียวกัน ทำให้ระบบราชการมีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น มีโครงสร้างที่กระชับเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น มีความรวดเร็วต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชนยิ่งขึ้น มีคุณภาพของงานบริการในระดับมาตรฐานสากล มีการสร้างนวัตกรรมการทำงานอย่างประหยัดมีประสิทธิภาพ สามารถวัดความพึงพอใจของประชาชนได้ เน้นการพัฒนาทั้งคนและระบบ โดยให้งานบริการสาธารณะสิ้นสุดที่ระดับชุมชนให้มากที่สุด
พรรคมุ่งให้ข้าราชการมีทัศนคติที่เอื้อต่องานบริการประชาชน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ยึดถือกฎระเบียบจนสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน มีความหวงแหนทรัพย์สินสาธารณะ มีความซื่อสัตย์ขยันอดทน มีขวัญกำลังใจ และมีภาวะผู้นำในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตลอดทั้งการริเริ่มระบบราชการที่เน้นการจัดจ้าง โดยการทำสัญญาที่สามารถประเมินผลงานได้ด้วยระบบคุณธรรม และให้หลักประกันความมั่นคงบนพื้นฐานของความรู้ความสามารถและผลงานสาธารณะ
นโยบายการกระจายอำนาจการบริหาร พรรคจะส่งเสริมการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ส่วนท้องถิ่น โดยจะต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่น ต้องมีการกระจายอำนาจทางการคลังให้กับท้องถิ่นให้สามารถจัดการบริหารงบประมาณของตนเองได้อย่างอิสระมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับภารกิจของแต่ละท้องถิ่น รวมถึงการมีอิสระในการจัดการด้านงบประมาณของท้องถิ่น การแสวงหารายได้และการจัดการทรัพย์สินของท้องถิ่น
รูปถ่าย
บล๊อกนี้ใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554
การจัดการภาครัฐแนวใหม่
การจัดการภาครัฐแนวใหม่หรือ New Public Management กล่าวได้ว่าเป็นพาราไดม์ (Paradigm) ที่สำคัญที่นักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ให้การยอมรับในปัจจุบันว่าเป็นกรอบแนวคิดที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารภาครัฐในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยที่แนวคิดการบริหารการจัดการภาครัฐแนวใหม่ถูกมองว่าเป็นปรัชญาการบริหารที่รัฐบาลนำมาใช้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้การบริหารภาครัฐมีความทันสมัย (New Public Management is a management philosophy used by Governments since the 1980s to modernise the Public Sector) (Wikipedia Encyclopedia ค้นคืนใน http://en.wikipedia.org/wiki/New_Public_Management) และถ้าจะกล่าวถึงสาระสำคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่นี้แล้ว นักวิชาการคนที่สำคัญแรกๆ ที่ได้กล่าวถึงไว้ก็คือ โจนาธาน บอสตัน (Jonathan Boston) และคณะได้สรุปให้เห็นสาระสำคัญของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ไว้ ดังต่อไปนี้ (Boston 1996)
1. มองว่าการบริหารงานมีลักษณะที่เป็นสากล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ไม่มีความแตกต่างอย่างเป็นนัยสำคัญระหว่างการบริหารงานของภาคธุรกิจเอกชนและการบริหารงานของภาครัฐ
2. ปรับเปลี่ยนจากการให้น้ำหนักความสำคัญที่เดิมมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการควบคุมปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากรและกฎระเบียบต่าง ๆ มาเป็นการควบคุมในเรื่องของการผลผลิตและผลลัพธ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ปรับเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญในภาระรับผิดชอบต่อกระบวนการของการทำงาน (process accountability) มาเน้นภาระรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ (accountability for results) แทน
3. ให้ความสำคัญต่อเรื่องของการใช้ความสามารถหรือทักษะการบริหารมากกว่าการที่ให้ความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายแต่เพียงอย่างเดียว
4. ให้ความสำคัญต่อการมอบอำนาจการควบคุมของหน่วยงานกลาง (devolution of centralized power) ไปให้หน่วยงานผู้ปฏิบัติ เพื่อให้ผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานมีอิสระและมีความคล่องตัวในการบริหารและการดำเนินงาน
5. เน้นปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานราชการใหม่ให้มีขนาดเล็กลงในรูปแบบของหน่วยงานอิสระในกำกับ โดยเฉพาะการแยกส่วนระหว่างการกำกับดูแลควบคุมที่เป็นภารกิจงานเชิงพาณิชย์และไม่ใช่เชิงพาณิชย์ออกจากกัน รวมถึงแยกภารกิจงานเชิงนโยบายและการให้บริการออกจากกันอย่างเด็ดขาด
6. เน้นการแปรสภาพกิจการของรัฐให้เป็นเอกชน (privatization) และให้มีการจ้างเหมาบุคคลภายนอก (outsourcing) รวมทั้งประยุกต์ใช้วิธีการจัดจ้างและการแข่งขันประมูลงาน (competitive tendering) เพื่อลดต้นทุนและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้สูงขึ้น
7. ปรับเปลี่ยนรูปแบบสัญญาจ้างบุคลากรของภาครัฐให้มีลักษณะเป็นระยะสั้นและกำหนดเงื่อนไขข้อตกลงให้มีความชัดเจนสามารถตรวจสอบได้
8. เลียนแบบวิธีการบริหารจัดการของภาคธุรกิจเอกชน เช่น การวางแผนกลยุทธ์และแผนธุรกิจ การทำข้อตกลงว่าด้วยผลงาน (performance agreement) การจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน การจัดจ้างบุคคลภายนอกให้เข้ามาปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวเฉพาะกิจ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานและการให้ความสำคัญต่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์การ (corporate image)
9. มีการสร้างแรงจูงใจและให้รางวัลตอบแทนในรูปของตัวเงิน (monetary incentives) มากขึ้น
10. สร้างระเบียบวินัยและความประหยัดในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ โดยพยายามลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิต
1. มองว่าการบริหารงานมีลักษณะที่เป็นสากล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ไม่มีความแตกต่างอย่างเป็นนัยสำคัญระหว่างการบริหารงานของภาคธุรกิจเอกชนและการบริหารงานของภาครัฐ
2. ปรับเปลี่ยนจากการให้น้ำหนักความสำคัญที่เดิมมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการควบคุมปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากรและกฎระเบียบต่าง ๆ มาเป็นการควบคุมในเรื่องของการผลผลิตและผลลัพธ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ปรับเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญในภาระรับผิดชอบต่อกระบวนการของการทำงาน (process accountability) มาเน้นภาระรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ (accountability for results) แทน
3. ให้ความสำคัญต่อเรื่องของการใช้ความสามารถหรือทักษะการบริหารมากกว่าการที่ให้ความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายแต่เพียงอย่างเดียว
4. ให้ความสำคัญต่อการมอบอำนาจการควบคุมของหน่วยงานกลาง (devolution of centralized power) ไปให้หน่วยงานผู้ปฏิบัติ เพื่อให้ผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานมีอิสระและมีความคล่องตัวในการบริหารและการดำเนินงาน
5. เน้นปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานราชการใหม่ให้มีขนาดเล็กลงในรูปแบบของหน่วยงานอิสระในกำกับ โดยเฉพาะการแยกส่วนระหว่างการกำกับดูแลควบคุมที่เป็นภารกิจงานเชิงพาณิชย์และไม่ใช่เชิงพาณิชย์ออกจากกัน รวมถึงแยกภารกิจงานเชิงนโยบายและการให้บริการออกจากกันอย่างเด็ดขาด
6. เน้นการแปรสภาพกิจการของรัฐให้เป็นเอกชน (privatization) และให้มีการจ้างเหมาบุคคลภายนอก (outsourcing) รวมทั้งประยุกต์ใช้วิธีการจัดจ้างและการแข่งขันประมูลงาน (competitive tendering) เพื่อลดต้นทุนและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้สูงขึ้น
7. ปรับเปลี่ยนรูปแบบสัญญาจ้างบุคลากรของภาครัฐให้มีลักษณะเป็นระยะสั้นและกำหนดเงื่อนไขข้อตกลงให้มีความชัดเจนสามารถตรวจสอบได้
8. เลียนแบบวิธีการบริหารจัดการของภาคธุรกิจเอกชน เช่น การวางแผนกลยุทธ์และแผนธุรกิจ การทำข้อตกลงว่าด้วยผลงาน (performance agreement) การจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน การจัดจ้างบุคคลภายนอกให้เข้ามาปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวเฉพาะกิจ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานและการให้ความสำคัญต่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์การ (corporate image)
9. มีการสร้างแรงจูงใจและให้รางวัลตอบแทนในรูปของตัวเงิน (monetary incentives) มากขึ้น
10. สร้างระเบียบวินัยและความประหยัดในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ โดยพยายามลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิต
นโยบายพรรเพื่อไทย
:: นโยบายพรรคเพื่อไทย ::
ดำเนินการสร้างระบบรถไฟฟ้าให้ครบทั้ง 10 สาย ในกทม. โดยเก็บค่าบริการ 20 บาท ตลอดสาย
ทำรถไฟความเร็วสูง ไปเชียงใหม่, โคราช และระยอง
ขยายแอร์พอร์ตลิงค์ ไปฉะเชิงเทรา ไปชลบุรี ไปพัทยา
ทำรถไฟรางคู่เชื่อมชานเมืองทั้งหมด
ทำเขื่อนลึกลงไปในทะล 10 กม. ความยาวประมาณ 30 กม. ตั้งแต่สมุทรสาคร ถึง ปากน้ำ โดยไม่ต้องกู้เงิน โดยทำเขื่อนแล้วถมทะเลลงไป ได้พื้นที่ใหม่ประมาณ 300 ตารางกม. ประมาณเกือบ 2 แสนไร่ โดยมีต้นทุนในการถมทรายตกประมาณตารางวาละ 12,000 บาท ทำให้เราได้เมืองใหม่ทั้งเมือง
ปรับปรุงลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ รวมถึงดึงน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน เขื่อนฮัจจี จากพม่า เขื่อมน้ำงึม จากลาว หรือ สตึงนัม จากกัมพูชา โดยเราจะไม่ทะเลาะกับเพื่อนบ้าน
ทำสะพานเศรษฐกิจเชื่อม 2 ฝั่งระหว่างอันดามันกับอ่าวไทย โดยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม และไม่ทับพื้นที่ของพี่น้องมุสลิมที่ใช้เป็นสุสาน
จัดการยาเสพติดให้หมดภายใน 12 เดือน
ขจัดความยากจนให้หมดใน 4 ปี
พักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี
ดำเนินการแจกแท็บเล็ต พีซี ให้เด็กไปโรงเรียนทุกคน ให้มีสัญญาณวายฟาย (Wi-Fi ) ฟรี ในที่สาธารณะ ให้ผู้ให้บริการติดตั้งให้รัฐบาลฟรี
คืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถคันแรก อย่างเช่น รถราคา 5 แสนบาท จะได้คืนภาษี 1 แสนบาท ราคาก็จะเหลือประมาณ 4 แสนบาท
ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30 เป็น 23 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2555 และเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อบริษัทไปขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำของผู้ที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท
แรงงานขั้นต่ำเริ่มที่ 300 บาทต่อวัน
ทำให้สนามบินสุวรรณภูมิให้เป็นศูนย์กลาง(Hub)อย่างแท้จริง พร้อมกับทำเรื่องวีซ่าฟรีกับนักท่องเที่ยวจากประเทศตะวันออกกลาง
สามจังหวัดชายแดนใต้ พรรคเพื่อไทยจะใช้นโยบายจับเข่าคุยกันและคุยกับมาเลเซียด้วย โดยใช้นโยบาย เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยจะพิจารณาการเป็นเขตปกครองพิเศษ เหมือนกทม. เพื่อให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อสร้างความมั่นคงและความสุขของพี่น้องมุสลิม
ผลิตข้าวได้เท่าไหร่ ก็ได้ราคาขั้นต่ำเท่าของรัฐบาล ข้าวเปลือกขาวเกวียน 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บาท
จัด Training Center ให้อาชีวะ และ ใช้หลักการ ให้ทุนการศึกษาแบบ “เรียนก่อน ผ่อนทีหลัง
ดำเนินการสร้างระบบรถไฟฟ้าให้ครบทั้ง 10 สาย ในกทม. โดยเก็บค่าบริการ 20 บาท ตลอดสาย
ทำรถไฟความเร็วสูง ไปเชียงใหม่, โคราช และระยอง
ขยายแอร์พอร์ตลิงค์ ไปฉะเชิงเทรา ไปชลบุรี ไปพัทยา
ทำรถไฟรางคู่เชื่อมชานเมืองทั้งหมด
ทำเขื่อนลึกลงไปในทะล 10 กม. ความยาวประมาณ 30 กม. ตั้งแต่สมุทรสาคร ถึง ปากน้ำ โดยไม่ต้องกู้เงิน โดยทำเขื่อนแล้วถมทะเลลงไป ได้พื้นที่ใหม่ประมาณ 300 ตารางกม. ประมาณเกือบ 2 แสนไร่ โดยมีต้นทุนในการถมทรายตกประมาณตารางวาละ 12,000 บาท ทำให้เราได้เมืองใหม่ทั้งเมือง
ปรับปรุงลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ รวมถึงดึงน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน เขื่อนฮัจจี จากพม่า เขื่อมน้ำงึม จากลาว หรือ สตึงนัม จากกัมพูชา โดยเราจะไม่ทะเลาะกับเพื่อนบ้าน
ทำสะพานเศรษฐกิจเชื่อม 2 ฝั่งระหว่างอันดามันกับอ่าวไทย โดยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม และไม่ทับพื้นที่ของพี่น้องมุสลิมที่ใช้เป็นสุสาน
จัดการยาเสพติดให้หมดภายใน 12 เดือน
ขจัดความยากจนให้หมดใน 4 ปี
พักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี
ดำเนินการแจกแท็บเล็ต พีซี ให้เด็กไปโรงเรียนทุกคน ให้มีสัญญาณวายฟาย (Wi-Fi ) ฟรี ในที่สาธารณะ ให้ผู้ให้บริการติดตั้งให้รัฐบาลฟรี
คืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถคันแรก อย่างเช่น รถราคา 5 แสนบาท จะได้คืนภาษี 1 แสนบาท ราคาก็จะเหลือประมาณ 4 แสนบาท
ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30 เป็น 23 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2555 และเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อบริษัทไปขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำของผู้ที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท
แรงงานขั้นต่ำเริ่มที่ 300 บาทต่อวัน
ทำให้สนามบินสุวรรณภูมิให้เป็นศูนย์กลาง(Hub)อย่างแท้จริง พร้อมกับทำเรื่องวีซ่าฟรีกับนักท่องเที่ยวจากประเทศตะวันออกกลาง
สามจังหวัดชายแดนใต้ พรรคเพื่อไทยจะใช้นโยบายจับเข่าคุยกันและคุยกับมาเลเซียด้วย โดยใช้นโยบาย เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยจะพิจารณาการเป็นเขตปกครองพิเศษ เหมือนกทม. เพื่อให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อสร้างความมั่นคงและความสุขของพี่น้องมุสลิม
ผลิตข้าวได้เท่าไหร่ ก็ได้ราคาขั้นต่ำเท่าของรัฐบาล ข้าวเปลือกขาวเกวียน 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บาท
จัด Training Center ให้อาชีวะ และ ใช้หลักการ ให้ทุนการศึกษาแบบ “เรียนก่อน ผ่อนทีหลัง
ประวัตินายกคนปัจจุบัน
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ชื่อเล่น: ปู) เกิด เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และหญิงคนแรกของประเทศไทย และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยสังกัดพรรคเพื่อไทย กรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม
ยิ่งลักษณ์ เกิดในจังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ในสาขารัฐประศาสนศาสตร์ทั้งคู่ ต่อมาเป็นผู้บริหารในธุรกิจซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ชาย และภายหลังเป็นประธาน บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส)
ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอชื่อยิ่งลักษณ์เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พรรคเพื่อไทยได้ผู้แทนราษฎร 265 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร นับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทย ที่พรรคการเมืองพรรคเดียวครองเสียงข้างมากในสภา จากนั้นยิ่งลักษณ์ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ วันศุกร์ ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังจากนั้น ในวันดังกล่าวยังไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ผู้แทนราษฎร เฝ้าฯ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช จันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 หลังจากนั้น จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งลงมา ในวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ยิ่งลักษณ์ เกิดในจังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ในสาขารัฐประศาสนศาสตร์ทั้งคู่ ต่อมาเป็นผู้บริหารในธุรกิจซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ชาย และภายหลังเป็นประธาน บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส)
ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอชื่อยิ่งลักษณ์เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พรรคเพื่อไทยได้ผู้แทนราษฎร 265 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร นับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทย ที่พรรคการเมืองพรรคเดียวครองเสียงข้างมากในสภา จากนั้นยิ่งลักษณ์ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ วันศุกร์ ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังจากนั้น ในวันดังกล่าวยังไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ผู้แทนราษฎร เฝ้าฯ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช จันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 หลังจากนั้น จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งลงมา ในวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554
แนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการเมือง
เราอาจเคยสงสัยและตั้งคำถามว่า เหตุใดมนุษย์จึงต้องปกครองกัน ทำไมไม่ปล่อยให้มนุษย์อยู่กันเอง กระทั่งอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า การเมืองกับการปกครองเป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งหลายคนจำเพาะในกลุ่มผู้ที่ขาดความสนใจต่อความเป็นมาเป็นมาในกิจการทางการเมืองอาจฟังดูไม่กระจ่างนัก ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวประการใด
คำตอบต่อความสงสัยข้อแรกนั้นโยงใยไปถึงความข้อต่อมากล่าวคือ มนุษย์นั้นโดยธรรมชาติเป็นสัตว์สังคม ที่ต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่คณะ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกัน หากมิได้กำหนดกติกาอะไรสักอย่างขึ้นมากำกับการอยู่รวมกันของมนุษย์แล้วนั้น มนุษย์ด้วยกันเองยังเชื่อว่าน่าจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้นในสังคมและการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ เนื่องจากโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้น ป่าเถื่อน ขลาดกลัวและไม่เป็นระเบียบดังที่ โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) นักปรัชญาการเมืองโบราณ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1588-1679 ได้เคยกล่าวไว้ในผลงานปรัชญาการเมืองเลื่องชื่อเรื่อง “Leviathan” ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1651 ว่า เมื่อมนุษย์จำต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมภายใต้กติกาแล้ว ก็จำเป็นอยู่ในตัวเองที่จะต้องกำหนดตัวผู้นำมาทำหน้าที่ควบคุมดูแลให้สังคมหรือการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย เช่นที่กล่าวมาเราคงพอจะทราบบ้างแล้วว่าเหตุใดจึงเกิดมีระบบการปกครองขึ้น
และโดยนัยที่มนุษย์จำต้องปกครองกันนั้น หากเกิดปัญหาขึ้นในระหว่างมนุษย์ด้วยกัน หรือการจะทำให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นไป หลีกเลี่ยงมิได้เสียที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจทางการเมือง อันมีความหมายและบริบทที่สะท้อนออกมาในเรื่องของการใช้อำนาจเพื่อการปกครองประชาชน การเมืองการปกครองซึ่งเป็นสภาพการณ์และผลที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (Eulau 1963, 3) จึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์อย่างมิอาจปฏิเสธได้ ซึ่งก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ใดก็ตาม จำเป็นต้องให้ความสนใจกับเรื่องการเมืองการปกครองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากสิ่งใดที่ออกมาจากสถาบันทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำหน้าที่ในการตรากฎหมายต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้ มาจากรัฐบาลในรูปของนโยบายสาธารณะ (Public Policies) โครงการพัฒนา (Developmental Program) และงานต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นหรือดำเนินไปโดยภาคราชการ รวมไปถึงการตัดสินคดีความหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลกับรัฐ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องที่การเมืองส่งผลกระทบต่อทุกคนอย่างที่ไม่อาจมองข้ามไปได้
โดยบริบทดังกล่าวการศึกษาเรื่องการเมืองและการปกครองของประเทศ จึงเป็นสิ่งที่ถูกบรรจุอยู่ในแทบทุกสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษาให้นักศึกษาได้ร่ำเรียน ทำความรู้ความเข้าใจในฐานะที่อย่างน้อยก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม และเป็นเรื่องภาคราชการทั้งหลายต่างรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป ภายใต้ความมุ่งประสงค์ที่จะหยั่งรากประชาธิปไตยในสังคมไทย และหากได้มองย้อนไปถึงแนวคิดของนักปรัชญาการเมืองโบราณเช่น อริสโตเติล (Aristotle) ปรัชญาเมธีชาวกรีกโบราณ ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์” ผู้กล่าวไว้ว่า มนุษย์ตามธรรมชาติเป็นสัตว์การเมืองต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือชุมชน อันแตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่น ๆ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ด้วยสัญชาตญาณเป็นหลัก หากแต่มนุษย์ นอกจากจะอยู่ด้วยสัญชาตญาณแล้ว ยังมีเป้าหมายอยู่ร่วมกันอีกด้วย ดังนั้นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จึงมิใช่มีชีวิตอยู่ไปเพียงวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น หากแต่เป็นการอยู่ร่วมกันเพื่อจะให้มีชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย เราก็จะมองเห็นภาพของการเมืองในแง่หนึ่งว่าการเมืองนั้นก็คือ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในชุมชนหรือสังคมเพื่อให้มีความสงบสุข
เราอาจเคยสงสัยและตั้งคำถามว่า เหตุใดมนุษย์จึงต้องปกครองกัน ทำไมไม่ปล่อยให้มนุษย์อยู่กันเอง กระทั่งอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า การเมืองกับการปกครองเป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งหลายคนจำเพาะในกลุ่มผู้ที่ขาดความสนใจต่อความเป็นมาเป็นมาในกิจการทางการเมืองอาจฟังดูไม่กระจ่างนัก ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวประการใด
คำตอบต่อความสงสัยข้อแรกนั้นโยงใยไปถึงความข้อต่อมากล่าวคือ มนุษย์นั้นโดยธรรมชาติเป็นสัตว์สังคม ที่ต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่คณะ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกัน หากมิได้กำหนดกติกาอะไรสักอย่างขึ้นมากำกับการอยู่รวมกันของมนุษย์แล้วนั้น มนุษย์ด้วยกันเองยังเชื่อว่าน่าจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้นในสังคมและการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ เนื่องจากโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้น ป่าเถื่อน ขลาดกลัวและไม่เป็นระเบียบดังที่ โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) นักปรัชญาการเมืองโบราณ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1588-1679 ได้เคยกล่าวไว้ในผลงานปรัชญาการเมืองเลื่องชื่อเรื่อง “Leviathan” ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1651 ว่า เมื่อมนุษย์จำต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมภายใต้กติกาแล้ว ก็จำเป็นอยู่ในตัวเองที่จะต้องกำหนดตัวผู้นำมาทำหน้าที่ควบคุมดูแลให้สังคมหรือการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย เช่นที่กล่าวมาเราคงพอจะทราบบ้างแล้วว่าเหตุใดจึงเกิดมีระบบการปกครองขึ้น
และโดยนัยที่มนุษย์จำต้องปกครองกันนั้น หากเกิดปัญหาขึ้นในระหว่างมนุษย์ด้วยกัน หรือการจะทำให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นไป หลีกเลี่ยงมิได้เสียที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจทางการเมือง อันมีความหมายและบริบทที่สะท้อนออกมาในเรื่องของการใช้อำนาจเพื่อการปกครองประชาชน การเมืองการปกครองซึ่งเป็นสภาพการณ์และผลที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (Eulau 1963, 3) จึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์อย่างมิอาจปฏิเสธได้ ซึ่งก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ใดก็ตาม จำเป็นต้องให้ความสนใจกับเรื่องการเมืองการปกครองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากสิ่งใดที่ออกมาจากสถาบันทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำหน้าที่ในการตรากฎหมายต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้ มาจากรัฐบาลในรูปของนโยบายสาธารณะ (Public Policies) โครงการพัฒนา (Developmental Program) และงานต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นหรือดำเนินไปโดยภาคราชการ รวมไปถึงการตัดสินคดีความหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลกับรัฐ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องที่การเมืองส่งผลกระทบต่อทุกคนอย่างที่ไม่อาจมองข้ามไปได้
โดยบริบทดังกล่าวการศึกษาเรื่องการเมืองและการปกครองของประเทศ จึงเป็นสิ่งที่ถูกบรรจุอยู่ในแทบทุกสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษาให้นักศึกษาได้ร่ำเรียน ทำความรู้ความเข้าใจในฐานะที่อย่างน้อยก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม และเป็นเรื่องภาคราชการทั้งหลายต่างรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป ภายใต้ความมุ่งประสงค์ที่จะหยั่งรากประชาธิปไตยในสังคมไทย และหากได้มองย้อนไปถึงแนวคิดของนักปรัชญาการเมืองโบราณเช่น อริสโตเติล (Aristotle) ปรัชญาเมธีชาวกรีกโบราณ ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์” ผู้กล่าวไว้ว่า มนุษย์ตามธรรมชาติเป็นสัตว์การเมืองต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือชุมชน อันแตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่น ๆ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ด้วยสัญชาตญาณเป็นหลัก หากแต่มนุษย์ นอกจากจะอยู่ด้วยสัญชาตญาณแล้ว ยังมีเป้าหมายอยู่ร่วมกันอีกด้วย ดังนั้นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จึงมิใช่มีชีวิตอยู่ไปเพียงวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น หากแต่เป็นการอยู่ร่วมกันเพื่อจะให้มีชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย เราก็จะมองเห็นภาพของการเมืองในแง่หนึ่งว่าการเมืองนั้นก็คือ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในชุมชนหรือสังคมเพื่อให้มีความสงบสุข
การเมือง (อังกฤษ: politics) คือ กระบวนการและวิธีการ ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจของกลุ่มคน คำนี้มักจะถูกนำไปประยุกต์ใช้กับรัฐบาล แต่กิจกรรมทางการเมืองสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไปในทุกกลุ่มคนที่มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งรวมไปถึงใน บรรษัท, แวดวงวิชาการ และในวงการศาสนา
ความหมายของการเมืองในทางทฤษฎีรัฐศาสตร์
มุมมองที่ใช้พิจารณาการเมืองหรือพูดเป็นศัพท์ทางวิชาการก็คือแนวการศึกษาวิเคราะห์การเมือง (Approach to Political Analysis) ก็ย่อมแตกต่างกันออกไปบ้างตามแต่ใครจะเห็นว่าแนวการมองการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงต่อการอธิบายความเป็นการเมืองได้มากที่สุด โดยคำว่า “การเมือง” นี้ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียด ตามแต่จะใช้ตัวแบบใดในการศึกษาวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมือง และด้วยตัวแบบที่เป็นกรอบในการศึกษาวิเคราะห์นี้ จะยังผลให้กรอบการมองคำว่าการเมืองต่างกันไป ในขณะที่สาระสำคัญของคำจำกัดความเป็นไปในทำนองเดียวกันกล่าวคือเป็นเรื่องของการใช้อำนาจแบบสองทางระหว่างฝ่ายที่เป็นผู้ปกครอง (Rulers) และฝ่ายผู้ถูกปกครอง (Ruled) ดังจะได้ยกมากล่าวถึง ซึ่งสำหรับผู้ศึกษารัฐศาสตร์มือใหม่แล้ว การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่าการเมืองนั้น จึงดูจะเป็นเรื่องที่สร้างความสับสนอยู่มิใช่น้อย เนื่องมาจากความหมายของการเมืองที่ปรากฏอยู่ในตำราเล่มต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นเผยแพร่นั้นมีอยู่หลากหลายต่างกันไปตามความเจตนารมณ์และมุ่งประสงค์ในการนำความหมายของการเมืองเพื่อไปอธิบายปรากฏการณ์ของผู้ให้คำนิยามความหมายของการเมือง ดังได้กล่าวไปแล้ว
คำจำกัดความของการเมืองที่ชัดเจนและรัดกุมมากที่สุดโดยนัยที่ได้กล่าวไปนี้ พิจารณาได้จากทัศนะของชัยอนันต์ สมุทวณิช (2517, 61) ที่ว่า การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปของรัฐและการจัดระเบียบความสัมพันธ์ภายในรัฐระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง โดยเมื่อสังคมมนุษย์ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาล คนเราจึงต้องแบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ ๆ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่บังคับกับผู้ถูกบังคับเสมอ
คำนิยามหรือความหมายของคำว่าการเมือง มานำเสนอโดยจำแนกได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มแรก การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ โดยเป็นการต่อสู้กันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและอิทธิพลในการบริหารกิจการบ้านเมือง โดยคำนิยามของการเมืองในเชิงอำนาจที่น่าสนใจอันหนึ่ง ที่ได้ให้คำอธิบายที่ชัดเจนมากได้แก่นิยามของ เพนนอคและสมิธ (Pennock and Smith 1964, 9) ที่กล่าวว่า การเมือง หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับอำนาจ สถาบันและองค์กรในสังคม ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีอำนาจเด็ดขาดครอบคลุมสังคมนั้น ในการสถาปนาและทำนุรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม มีอำนาจในการทำให้จุดประสงค์ร่วมกันของสมาชิกในสังคมได้บังเกิดผลขึ้นมา และมีอำนาจในการประนีประนอมความคิดเห็นที่แตกต่างกันของคนในสังคม
อีกหนึ่งคำนิยามการเมืองที่ถือได้ว่าครอบคลุมและช่วยให้เห็นภาพความเกี่ยวพันของการเมืองกับบุคคลในสังคมได้แก่ ณรงค์ สินสวัสดิ์ (2539, 3) ที่กล่าวว่า การเมืองเป็นการต่อสู้ช่วงชิง การรักษาไว้และการใช้อำนาจทางการเมือง โดยที่อำนาจทางการเมืองหมายถึง อำนาจในการที่จะวางนโยบายในการบริหารประเทศหรือสังคม อำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลเพื่อช่วยในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ อำนาจที่จะใช้ข้าราชการ งบประมาณหรือเครื่องมืออื่น ๆ ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ แนวการมองการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ (Power Approach) ดังที่ได้ยกตัวอย่างไปนี้ เป็นแนวทางการศึกษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมชมชอบในหมู่นักรัฐศาสตร์และนักสังคมศาสตร์ทั่วไป ที่เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องหรือมีบริบทเกี่ยวกับการใช้อำนาจเพื่อการปกครองประชาชน ก็มักให้คำนิยามของการเมืองว่าเป็นปฏิสัมพันธ์ในเชิงการใช้อำนาจของรัฐาธิปัตย์ ต่อผู้อยู่ใต้อำนาจซึ่งก็คือประชาชนนั่นเอง โดยคำนิยามเช่นนี้ สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ออกมาจากสถาบันทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำหน้าที่ในการตรากฎหมายต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้ มาจากรัฐบาลในรูปของนโยบายสาธารณะ (Public Policies) โครงการพัฒนา (development program) และงานต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นหรือดำเนินไปโดยภาคราชการ รวมไปถึงการตัดสินคดีความหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลกับรัฐ จึงล้วนแต่เป็นเรื่องที่การเมืองส่งผลกระทบต่อนักศึกษาและบุคคลทั่วไป โดยบริบทดังกล่าวการศึกษาเรื่องการเมืองและการปกครองของประเทศ จึงเป็นสิ่งที่ถูกบรรจุอยู่ในแทบทุกสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษาให้นักศึกษาได้ร่ำเรียน ทำความรู้ความเข้าใจในฐานะที่อย่างน้อยก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม และเป็นความรู้หนึ่งที่ประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยสมควรสั่งสมให้แก่พลเมืองของรัฐ เพื่อประโยชน์เป็นพื้นฐานของการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
นักรัฐศาสตร์บางท่านมองว่า แท้จริงนั้น การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องการต่อสู่แย่งชิงกันของกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) ที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ในอันที่จะแย่งชิงกันเข้าสู่อำนาจการบริหารประเทศ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ให้ผลผลิตจากระบบการเมือง (Political Outputs-ผลผลิตของระบบการเมือง เป็นคำศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ตามทัศนะของอีสตัน (David Easton) นักรัฐศาสตร์อเมริกัน ที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของแนวคิดทฤษฎีการเมืองเชิงระบบ (the Systems Theory) อันได้แก่ นโยบาย กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ โครงการหรือแผนงานพัฒนาของภาครัฐและภาคราชการ ซึ่งผลในทางที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มของตนมากที่สุด เราเรียกการวิเคราะห์การเมืองแนวทางนี้ว่าเป็น การวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งดูไปก็เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของแนวการมองการเมืองเชิงอำนาจที่จะกล่าวถึงต่อไป ความหมายของการเมืองในมุมมองนี้ จึงเป็นว่า การเมืองการเมืองคือการที่บุคคลใดหรือกลุ่มใดในสังคม ซึ่งอาจมีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือขัดกันก็ตาม หรือมีความเห็นเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันก็ตาม มาทำการต่อสู้เพื่อสรรหาบุคคลมาทำหน้าที่ในการปกครองและเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจที่จะให้เขาสามารถตัดสินใจในเรื่องของส่วนรวมได้โดยชอบธรรม ซึ่งจัดเป็นแนวที่นักรัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมการเมือง (Political Scientist) นิยมกัน
กลุ่มที่สอง มองว่า การเมืองเป็นเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรของรัฐหรือสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม ดังเช่นมุมมองของอีสตัน (David Easton) ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า การเมือง เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในการจัดสรรแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าต่าง ๆ ให้กับสังคมอย่างชอบธรรม (The authoritative allocation of values to society) ความหมายของการเมืองดังที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นนิยามที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงจากสำนักพหุนิยม (Pluralism) อย่างไรก็ดี ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2535, 4-5) อธิบายว่า เราจะใช้ความหมายการเมืองดังกล่าวนี้ได้ก็ต่อเมื่อ ในสังคมนั้น ๆ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับผลกระทบจากทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความเห็นพ้องต้องกันและยอมรับในกติกาที่กำหนดการใช้อำนาจเพื่อแบ่งปันสิ่งที่มีคุณค่าเท่านั้น ส่วนในสังคมที่ยังไม่มีความเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับกติกาการกำหนดสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ชัยอนันต์ อธิบายว่า การเมืองยังคงเป็นเรื่องของการแข่งขันกันเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการแบ่งปันคุณค่าที่ให้ประโยชน์แก่ฝ่ายตนมากที่สุด เท่าที่จะเป็นได้ หรือ “The competition for the authority to determine the authoritative allocation of values to society” โดยนัยเช่นนี้ การเมืองจึงมีสองระดับ ระดับแรก การเมืองอยู่ภายใต้การแข่งขัน ขัดแย้งของฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองที่ทุก ๆ ฝ่ายยอมรับได้ ในขณะที่การเมืองในความหมายอย่างแรกดังทัศนะของนักคิดกลุ่มพหุนิยมที่ได้กล่าวไปแล้ว ดูจะยอมรับในจุดเน้นว่ารัฐ เป็นการรวมกันหรือประกอบกันของกลุ่มหลากหลายในสังคม และรัฐมิได้เป็นเครื่องมือทางการบริหาร โดยที่มิได้เป็นตัวกระทำทางการเมือง (actors) ที่จะชี้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่รัฐเป็นเพียงรัฐบาล (State as government) ที่ทำหน้าที่เพียงเอื้ออำนวยความสะดวกในการแข่งขันกันของกลุ่มหลากหลายเท่านั้น (ชัยอนันต์ สมุทวณิช 2535, 6)
นอกจากนี้ คำนิยามการเมืองในกลุ่มที่สอง ซึ่งได้รับการกล่าวถึงอย่างสูงยังได้แก่ ทัศนะของลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) ที่กล่าวว่า การเมือง เป็นเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลและผู้มีอิทธิพล และการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับว่า ใคร ทำอะไร เมื่อไร และอย่างไร (Politics is, who gets “What”, “When” and “How”)
กลุ่มที่สาม มองว่า การเมืองเป็นเรื่องของความขัดแย้ง ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่ผู้คนซึ่งต้องการใช้ทรัพยากรนั้นมีอยู่มากและความต้องการใช้ไม่มีขีดจำกัด การเมืองจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่คนในสังคมไม่อาจตกลงกันได้หรือเกิดมีความขัดแย้งขึ้น อย่างไรก็ดี การมองการเมืองในลักษณะนี้มีข้อโต้แย้งอยู่มากว่า หากไม่อาจยุติข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ บ้านเมืองย่อมตกอยู่ในสภาวะยุ่งยากวุ่นวาย ต่อมาจึงมีผู้ให้มุมมองการเมืองใหม่ว่าเป็นเรื่องของการประนีประนอมความขัดแย้งมากว่าเป็นเรื่องของความขัดแย้ง
กลุ่มที่สี่ มองว่าการเมืองเป็นเรื่องของการประนีประนอมผลประโยชน์ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความขัดแย้งจากการดำเนินงานทางการเมืองที่ไม่มีทางออก
กลุ่มที่ห้า ถือว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐและการบริหารประเทศในกิจกรรมหลัก 3 ด้านคือ งานที่เกี่ยวกับรัฐ การบริหารประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย และการอำนวยการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งเป็นการควบคุมให้มีการดำเนินงานตามนโยบาย ซึ่งหากพิจารณาให้ละเอียดแล้ว การเมืองโดยนัยยะความหมายประการนี้ เป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวกับการเมืองในความหมายเชิงอำนาจ ซึ่งก็เป็นเพราะอำนาจทางการเมืองนั้น ได้ถูกนำไปใช้ผ่านกระบวนการนโยบายและการแต่งตั้งคัดสรรผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ (ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ) ในรูปของอำนาจและการปฏิบัติงานทางการปกครอง และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและการบริหารหรือการปกครองที่ยากจะแยกออกจากกันได้
กลุ่มที่หก การเมืองเป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายของรัฐ กล่าวคือ การเมืองคือกิจกรรมใดใดที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย หน่วยงานและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย โดยนัยหนึ่ง การเมืองก็คือกระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐ นั่นเอง
ความหมายของการเมืองในทางทฤษฎีรัฐศาสตร์
มุมมองที่ใช้พิจารณาการเมืองหรือพูดเป็นศัพท์ทางวิชาการก็คือแนวการศึกษาวิเคราะห์การเมือง (Approach to Political Analysis) ก็ย่อมแตกต่างกันออกไปบ้างตามแต่ใครจะเห็นว่าแนวการมองการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่ใกล้เคียงต่อการอธิบายความเป็นการเมืองได้มากที่สุด โดยคำว่า “การเมือง” นี้ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ ได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกันไปบ้างในรายละเอียด ตามแต่จะใช้ตัวแบบใดในการศึกษาวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทางการเมือง และด้วยตัวแบบที่เป็นกรอบในการศึกษาวิเคราะห์นี้ จะยังผลให้กรอบการมองคำว่าการเมืองต่างกันไป ในขณะที่สาระสำคัญของคำจำกัดความเป็นไปในทำนองเดียวกันกล่าวคือเป็นเรื่องของการใช้อำนาจแบบสองทางระหว่างฝ่ายที่เป็นผู้ปกครอง (Rulers) และฝ่ายผู้ถูกปกครอง (Ruled) ดังจะได้ยกมากล่าวถึง ซึ่งสำหรับผู้ศึกษารัฐศาสตร์มือใหม่แล้ว การทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของคำว่าการเมืองนั้น จึงดูจะเป็นเรื่องที่สร้างความสับสนอยู่มิใช่น้อย เนื่องมาจากความหมายของการเมืองที่ปรากฏอยู่ในตำราเล่มต่าง ๆ ที่เขียนขึ้นเผยแพร่นั้นมีอยู่หลากหลายต่างกันไปตามความเจตนารมณ์และมุ่งประสงค์ในการนำความหมายของการเมืองเพื่อไปอธิบายปรากฏการณ์ของผู้ให้คำนิยามความหมายของการเมือง ดังได้กล่าวไปแล้ว
คำจำกัดความของการเมืองที่ชัดเจนและรัดกุมมากที่สุดโดยนัยที่ได้กล่าวไปนี้ พิจารณาได้จากทัศนะของชัยอนันต์ สมุทวณิช (2517, 61) ที่ว่า การเมืองเป็นเรื่องเกี่ยวกับรูปของรัฐและการจัดระเบียบความสัมพันธ์ภายในรัฐระหว่างผู้ปกครองและผู้ถูกปกครอง โดยเมื่อสังคมมนุษย์ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีรัฐบาล คนเราจึงต้องแบ่งออกเป็นสองพวกใหญ่ ๆ คือ ผู้ที่ทำหน้าที่บังคับกับผู้ถูกบังคับเสมอ
คำนิยามหรือความหมายของคำว่าการเมือง มานำเสนอโดยจำแนกได้เป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มแรก การเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ โดยเป็นการต่อสู้กันเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจและอิทธิพลในการบริหารกิจการบ้านเมือง โดยคำนิยามของการเมืองในเชิงอำนาจที่น่าสนใจอันหนึ่ง ที่ได้ให้คำอธิบายที่ชัดเจนมากได้แก่นิยามของ เพนนอคและสมิธ (Pennock and Smith 1964, 9) ที่กล่าวว่า การเมือง หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับอำนาจ สถาบันและองค์กรในสังคม ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีอำนาจเด็ดขาดครอบคลุมสังคมนั้น ในการสถาปนาและทำนุรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม มีอำนาจในการทำให้จุดประสงค์ร่วมกันของสมาชิกในสังคมได้บังเกิดผลขึ้นมา และมีอำนาจในการประนีประนอมความคิดเห็นที่แตกต่างกันของคนในสังคม
อีกหนึ่งคำนิยามการเมืองที่ถือได้ว่าครอบคลุมและช่วยให้เห็นภาพความเกี่ยวพันของการเมืองกับบุคคลในสังคมได้แก่ ณรงค์ สินสวัสดิ์ (2539, 3) ที่กล่าวว่า การเมืองเป็นการต่อสู้ช่วงชิง การรักษาไว้และการใช้อำนาจทางการเมือง โดยที่อำนาจทางการเมืองหมายถึง อำนาจในการที่จะวางนโยบายในการบริหารประเทศหรือสังคม อำนาจที่จะแต่งตั้งบุคคลเพื่อช่วยในการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ อำนาจที่จะใช้ข้าราชการ งบประมาณหรือเครื่องมืออื่น ๆ ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ แนวการมองการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ (Power Approach) ดังที่ได้ยกตัวอย่างไปนี้ เป็นแนวทางการศึกษาหนึ่งที่ได้รับความนิยมชมชอบในหมู่นักรัฐศาสตร์และนักสังคมศาสตร์ทั่วไป ที่เห็นว่าการเมืองเป็นเรื่องหรือมีบริบทเกี่ยวกับการใช้อำนาจเพื่อการปกครองประชาชน ก็มักให้คำนิยามของการเมืองว่าเป็นปฏิสัมพันธ์ในเชิงการใช้อำนาจของรัฐาธิปัตย์ ต่อผู้อยู่ใต้อำนาจซึ่งก็คือประชาชนนั่นเอง โดยคำนิยามเช่นนี้ สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ออกมาจากสถาบันทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำหน้าที่ในการตรากฎหมายต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้ มาจากรัฐบาลในรูปของนโยบายสาธารณะ (Public Policies) โครงการพัฒนา (development program) และงานต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นหรือดำเนินไปโดยภาคราชการ รวมไปถึงการตัดสินคดีความหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลกับรัฐ จึงล้วนแต่เป็นเรื่องที่การเมืองส่งผลกระทบต่อนักศึกษาและบุคคลทั่วไป โดยบริบทดังกล่าวการศึกษาเรื่องการเมืองและการปกครองของประเทศ จึงเป็นสิ่งที่ถูกบรรจุอยู่ในแทบทุกสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษาให้นักศึกษาได้ร่ำเรียน ทำความรู้ความเข้าใจในฐานะที่อย่างน้อยก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม และเป็นความรู้หนึ่งที่ประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยสมควรสั่งสมให้แก่พลเมืองของรัฐ เพื่อประโยชน์เป็นพื้นฐานของการมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
นักรัฐศาสตร์บางท่านมองว่า แท้จริงนั้น การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องการต่อสู่แย่งชิงกันของกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) ที่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่าง ๆ ในอันที่จะแย่งชิงกันเข้าสู่อำนาจการบริหารประเทศ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ให้ผลผลิตจากระบบการเมือง (Political Outputs-ผลผลิตของระบบการเมือง เป็นคำศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ตามทัศนะของอีสตัน (David Easton) นักรัฐศาสตร์อเมริกัน ที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของแนวคิดทฤษฎีการเมืองเชิงระบบ (the Systems Theory) อันได้แก่ นโยบาย กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ โครงการหรือแผนงานพัฒนาของภาครัฐและภาคราชการ ซึ่งผลในทางที่เป็นประโยชน์ต่อกลุ่มของตนมากที่สุด เราเรียกการวิเคราะห์การเมืองแนวทางนี้ว่าเป็น การวิเคราะห์เชิงกลุ่มผลประโยชน์ ซึ่งดูไปก็เป็นส่วนสำคัญหนึ่งของแนวการมองการเมืองเชิงอำนาจที่จะกล่าวถึงต่อไป ความหมายของการเมืองในมุมมองนี้ จึงเป็นว่า การเมืองการเมืองคือการที่บุคคลใดหรือกลุ่มใดในสังคม ซึ่งอาจมีผลประโยชน์ร่วมกัน หรือขัดกันก็ตาม หรือมีความเห็นเหมือนกันหรือไม่เหมือนกันก็ตาม มาทำการต่อสู้เพื่อสรรหาบุคคลมาทำหน้าที่ในการปกครองและเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจที่จะให้เขาสามารถตัดสินใจในเรื่องของส่วนรวมได้โดยชอบธรรม ซึ่งจัดเป็นแนวที่นักรัฐศาสตร์เชิงพฤติกรรมการเมือง (Political Scientist) นิยมกัน
กลุ่มที่สอง มองว่า การเมืองเป็นเรื่องของการจัดสรรทรัพยากรของรัฐหรือสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคม ดังเช่นมุมมองของอีสตัน (David Easton) ซึ่งได้อธิบายไว้ว่า การเมือง เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ในการจัดสรรแจกแจงสิ่งที่มีคุณค่าต่าง ๆ ให้กับสังคมอย่างชอบธรรม (The authoritative allocation of values to society) ความหมายของการเมืองดังที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นนิยามที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงจากสำนักพหุนิยม (Pluralism) อย่างไรก็ดี ชัยอนันต์ สมุทวณิช (2535, 4-5) อธิบายว่า เราจะใช้ความหมายการเมืองดังกล่าวนี้ได้ก็ต่อเมื่อ ในสังคมนั้น ๆ บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้รับผลกระทบจากทั้งทางตรงและทางอ้อม มีความเห็นพ้องต้องกันและยอมรับในกติกาที่กำหนดการใช้อำนาจเพื่อแบ่งปันสิ่งที่มีคุณค่าเท่านั้น ส่วนในสังคมที่ยังไม่มีความเห็นพ้องต้องกันเกี่ยวกับกติกาการกำหนดสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ชัยอนันต์ อธิบายว่า การเมืองยังคงเป็นเรื่องของการแข่งขันกันเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการแบ่งปันคุณค่าที่ให้ประโยชน์แก่ฝ่ายตนมากที่สุด เท่าที่จะเป็นได้ หรือ “The competition for the authority to determine the authoritative allocation of values to society” โดยนัยเช่นนี้ การเมืองจึงมีสองระดับ ระดับแรก การเมืองอยู่ภายใต้การแข่งขัน ขัดแย้งของฝ่ายต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองที่ทุก ๆ ฝ่ายยอมรับได้ ในขณะที่การเมืองในความหมายอย่างแรกดังทัศนะของนักคิดกลุ่มพหุนิยมที่ได้กล่าวไปแล้ว ดูจะยอมรับในจุดเน้นว่ารัฐ เป็นการรวมกันหรือประกอบกันของกลุ่มหลากหลายในสังคม และรัฐมิได้เป็นเครื่องมือทางการบริหาร โดยที่มิได้เป็นตัวกระทำทางการเมือง (actors) ที่จะชี้นำการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ แต่รัฐเป็นเพียงรัฐบาล (State as government) ที่ทำหน้าที่เพียงเอื้ออำนวยความสะดวกในการแข่งขันกันของกลุ่มหลากหลายเท่านั้น (ชัยอนันต์ สมุทวณิช 2535, 6)
นอกจากนี้ คำนิยามการเมืองในกลุ่มที่สอง ซึ่งได้รับการกล่าวถึงอย่างสูงยังได้แก่ ทัศนะของลาสเวลล์ (Harold D. Lasswell) ที่กล่าวว่า การเมือง เป็นเรื่องของการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลและผู้มีอิทธิพล และการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับว่า ใคร ทำอะไร เมื่อไร และอย่างไร (Politics is, who gets “What”, “When” and “How”)
กลุ่มที่สาม มองว่า การเมืองเป็นเรื่องของความขัดแย้ง ทั้งนี้เนื่องจากทรัพยากรของชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่ผู้คนซึ่งต้องการใช้ทรัพยากรนั้นมีอยู่มากและความต้องการใช้ไม่มีขีดจำกัด การเมืองจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการที่คนในสังคมไม่อาจตกลงกันได้หรือเกิดมีความขัดแย้งขึ้น อย่างไรก็ดี การมองการเมืองในลักษณะนี้มีข้อโต้แย้งอยู่มากว่า หากไม่อาจยุติข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้ บ้านเมืองย่อมตกอยู่ในสภาวะยุ่งยากวุ่นวาย ต่อมาจึงมีผู้ให้มุมมองการเมืองใหม่ว่าเป็นเรื่องของการประนีประนอมความขัดแย้งมากว่าเป็นเรื่องของความขัดแย้ง
กลุ่มที่สี่ มองว่าการเมืองเป็นเรื่องของการประนีประนอมผลประโยชน์ เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความขัดแย้งจากการดำเนินงานทางการเมืองที่ไม่มีทางออก
กลุ่มที่ห้า ถือว่าการเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับรัฐและการบริหารประเทศในกิจกรรมหลัก 3 ด้านคือ งานที่เกี่ยวกับรัฐ การบริหารประเทศในส่วนที่เกี่ยวกับนโยบาย และการอำนวยการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งเป็นการควบคุมให้มีการดำเนินงานตามนโยบาย ซึ่งหากพิจารณาให้ละเอียดแล้ว การเมืองโดยนัยยะความหมายประการนี้ เป็นเรื่องที่คาบเกี่ยวกับการเมืองในความหมายเชิงอำนาจ ซึ่งก็เป็นเพราะอำนาจทางการเมืองนั้น ได้ถูกนำไปใช้ผ่านกระบวนการนโยบายและการแต่งตั้งคัดสรรผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ (ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ) ในรูปของอำนาจและการปฏิบัติงานทางการปกครอง และแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองและการบริหารหรือการปกครองที่ยากจะแยกออกจากกันได้
กลุ่มที่หก การเมืองเป็นเรื่องของการกำหนดนโยบายของรัฐ กล่าวคือ การเมืองคือกิจกรรมใดใดที่เกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย หน่วยงานและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการกำหนดนโยบาย โดยนัยหนึ่ง การเมืองก็คือกระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐ นั่นเอง
วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554
การปกครองท้องถิ่น
วิวัฒนาการของความเป็นมาในการปกครองส่วนท้องถิ่นไทย มีลำดับในแต่ละช่วงสมัยการปกครอง
1. สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ายู่หัว
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นรัชสมัยที่มีการริเริ่มการปฏิรูปการเมือง การบริหารประเทศ ให้ไปสู่ระบบที่มีความเจริญ สอดคล้องกับการริเริ่มให้สิทธิทางการเมืองการปกครองแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก แม้แต่กิจการปกครองท้องถิ่นในปัจจุบันนี้ ก็นับได้ว่าเกิดขึ้นโดยองค์พระมหากษัตริย์ ทรงริเริ่มโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริว่า การที่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทำการปกครองตำบลและหมู่บ้านของไทยนั้น ทางราชการได้แต่งตั้งบุคคลทำการปกครองมาช้านานแล้ว หากให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกสรรหรือให้สิทธิในการเฟ้นหาตัวผู้ปกครองของเขาเอง ในการนี้ พระองค์ท่านจึงได้มีพระราชดำริให้หลวงเทศาวิกรกิจ ไปทดลองระบบการเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านขึ้นที่บางปะอิน จังหวัดอยุธยา จึงนับว่าระบบการกระจายอำนาจการปกครองไปให้ประชาชน ได้ริเริ่มขึ้นเป็นก้าวแรกนับแต่บัดนั้น
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำริให้มีการทดลองจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่นขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รู้จักการปกครองตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใดควรจัดทำเพื่อรักษาความสะอาดแห่งชุมชนของตน การใดควรจัดทำเพื่อเป็นการบูรณะหรือจัดสร้างขึ้นเพื่อความสะดวกแห่งชุมชน เช่น ถนนหนทาง การติดตามประทีปโคมไฟก็ดี ควรเป็นหน้าที่ของชุมชนนั้น และโดยพระราชประสงค์ดังกล่าวนี้ ก็ได้มีการทดลองจัดตั้งระบบสุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก ได้แก่ สุขาภิบาลกรุงเทพ
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2448 ได้มีการขยายกิจการต่อไป โดยประชาชนชาวท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสงคราม ได้จัดสร้างถนนขึ้นโดยน้ำพักน้ำแรง ความร่วมใจของพลเมืองเอง และในการนี้ได้ทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปทำพิธีเปิด เมื่อทำพิธีเปิดแล้ว พระองค์ท่านได้ทรงมอบถนนนี้ให้ชาวเมืองช่วยกันดูแลรักษา และหากมีการที่จะต้องจับจ่ายใช้สอยเงินทองอย่างไร ก็ขอให้เป็นหน้าที่ร่วมใจกันบริจาคเข้าหลักการที่ว่า ผลประโยชน์ของชุมชน ชุมชนช่วยกันค้ำจุนทำนุบำรุงรักษา สำหรับเจ้าหน้าที่ทำการปกครองสุขาภิบาลในขณะนั้น ได้แก่ บุคคลซึ่งทางราชการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการไปพลางก่อน ซึ่งได้แก่ ผู้ว่าราชการเมือง นายอำเภอ กรรมการอำเภอ และกำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้บริหารงานรับผิดชอบ เรียกว่า กรรมการสุขาภิบาล จากนั้นกิจการสุขาภิบาลได้รับความนิยมและเป็นผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงขยายกิจการสุขาภิบาลไปยังหัวเมืองต่าง ๆ และในการนี้ก็ได้ตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมือง และสุขาภิบาลท้องถิ่นขึ้น กิจการสุขาภิบาลนัยว่าทำท่าจะแพร่หลาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน กิจการสุขาภิบาลจึงเป็นอันระงับไป
2. สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เถลิงถวัลย์ราชสมบัติสืบต่อเนื่อง มีพระราชประสงค์จะฝึกฝนประชาธิปไตยให้กับประชาชน และได้ทรงริเริ่มการจัดตั้ง ดุสิตธานี ขึ้น โครงการจัดตั้งดุสิตธานีนี้ เป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้ประชาชนชาวไทยได้รู้จักการปกครองตนเองตามคัลลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยแท้ ดังนั้น ในขั้นแรกการดำเนินงานได้สมมติเมืองทดลองขึ้นภายในพระราชวังดุสิต จัดเป็นเขตเมืองทดลองขึ้นเรียกว่า ดุสิตธานี ในเขตการปกครองนี้ สภาเมืองเลือกคณะบุคคลขึ้นเป็นรัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี และให้มีพรรคการเมือง (political party) ขึ้น มีพรรคสนับสนุนรัฐบาล มีพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งพรรคการเมืองขณะนั้นปรากฏว่าได้แก่ พรรคโบว์แดง และพรรคโบว์น้ำเงิน ไม่เพียงแต่เท่านั้นยังมีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นเพื่อเป็นปากเป็นเสียงของประชาชน คอยตำหนิรัฐบาลหรือทำการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้ หนังสือดังกล่าวมีชื่อว่า เดอะเรคคอตเดอร์
หากจะพิจารณาดูกลไกในการปกครองของดุสิตธานีแล้ว จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สร้างกลไกหรือสถาบันทางการเมือง (political Institution) ต่าง ๆ ตามรูปแบบการปกครองประชาธิปไตย (democracy) ทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้รู้จัก ได้ฝึกหัด ให้เกิดมีความเคยชินหรือประสบการณ์ทางการเมือง นับเป็นความริเริ่ม เป็นการพระราชประสงค์ที่ดีของพระองค์ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย
อย่างไรก็ดี เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคต โครงการดุสิตธานีที่มีทีท่าว่าจะขยายไปยังเมืองต่าง ๆ ก็เป็นอันหยุดระงับไปอีก
3. สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต่อมา ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ด้วยพระราชประสงค์และรัฐประศาสนโยบายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงริเริ่มและดำเนินนโยบายตามรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 นั้น จะเห็นได้ว่า พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ประชาชนชาวไทยได้ปกครองตนเองกันอย่างจริงจังขึ้น ตามรูปแบบการปกครองตนเองในนานาประเทศ ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรึกษากับเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ว่าอยากจะให้มีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาการจัดตั้งเทศบาล (municipality) ขึ้นในประเทศไทย และในที่สุดได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย
1. นายอาร์ ดี เครก เป็นประธานกรรมการ
2. อำมาตย์เอก พระกฤษณาพรพันธ์ เป็นกรรมการ
3. พระยาจินดารักษ์ เป็นกรรมการ
4. นายบุญเชย ปิตรชาติ เป็นกรรมการ
คณะกรรมการชุดนี้ได้เดินทางไปศึกษาระบบสุขาภิบาลในประเทศ ในท้องถิ่นต่าง ๆ และต่อมาประธานคณะกรรมการคือนายอาร์ ดี เครก ได้เดินทางไปยุโรปเพื่อดูงานเกี่ยวกับกิจการเทศบาล และในที่สุดได้มีบันทึกข้อความเห็นเสนอรัฐบาลว่า การตั้งเทศบาล (municipality) ควรตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเทศบางขึ้น
ในที่สุด เสนาบดีมหาดไทยได้ทูลเกล้าถวายร่างพระราชบัญญัติเทศบาลต่อพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ท่านได้พระราชทานร่างพระราชบัญญัติให้สภาเสนาบดีประชุมพิจารณาในรายละเอียดเมื่อ 19 มกราคม 2473 และสภาเสนาบดีเห็นชอบด้วย ซึ่งขณะที่ยกร่างเพื่อทูลเกล้าถวายทรงลงพระปรมาภิไธย ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 เกิดขึ้น โครงการจัดตั้งเทศบาลตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็จำต้องระงับไป
4. การจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่นหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475
ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเทศบาลขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ตระหนักดีว่า โครงการจัดตั้งเทศบาลนั้นได้เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระยาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มีเหตุการณ์จำเป็นต้องระงับไปในเมื่อมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้น และต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2476 จึงได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2476 ดังกล่าว ทำให้มีเทศบาลเกิดขึ้นนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดตั้งสภาจังหวัดขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือการบริหารกิจการของจังหวัดขึ้น นับเป็นก้าวหนึ่งที่รัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่าประกอบการมีภาระหน้าที่อันสำคัญร่วมกับรัฐบาล ในการปกครองส่วนภูมิภาค
ในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการรื้อฟื้นระบบสุขาภิบาล ซึ่งได้ระงับไปเป็นเวลานานขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดให้มีการตั้งสุขาภิบาลขึ้นในท้องที่ต่าง ๆ ซึ่งยังไม่มีฐานะเป็นชุมชนเทศบาล แต่เป็นเขตท้องที่ที่มีรายได้ เป็นชุมชนในที่ตั้งอำเภอต่าง ๆ จึงได้ให้มีฐานะเป็นเขตการปกครองสุขาภิบาลขึ้น
ในปี พ.ศ. 2498 หลังจากที่ ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลในขณะนั้น ได้พิจารณาเห็นว่าประชาชนควรได้มีสิทธิและเสียงในการปกครองตนเองอย่างเต็มที่ ตามคัลลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงได้ดำริให้มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้น โดยรัฐบาลด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด 2498 เป็นผลให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดเกิดขึ้นนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ในระยะเวลาไล่เรี่ยกันก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 ขึ้น เป็นผลให้มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้น เพื่อให้การปกครองระดับตำบลที่มีความเจริญ มีรายได้ ได้มีการปกครองตนเองเกิดขึ้นในรูปขององค์การบริหารส่วนตำบล และในปี พ.ศ. 2515 หน่วยการปกครองระดับองค์การบริหารส่วนตำบล ก็จำเป็นต้องถูกยุบเลิกไป โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515
ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครขึ้นอีก เป็นผลให้กรุงเทพมหานครเป็นรูปการปกครองพิเศษ ตามระบบการปกครองท้องถิ่นอีกรูปหนึ่ง หลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงการรวมเทศบาลกรุงเทพและธนบุรีเข้าด้วยกัน และมีฐานะเป็นเทศบาลกรุงเทพธนบุรีแล้วนั้น ในที่สุดปัจจุบันกรุงเทพมหานครก็คือหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษรูปหนึ่ง
พ.ศ. 2521 ก็ได้มีหน่วยการปกครองท้องถิ่นในรูปพิเศษเกิดขึ้นอีก ตามพระราชบัญญัติการปกครองเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เป็นผลให้พัทยาเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นและเป็นรูปการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่ง
1. สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ายู่หัว
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นรัชสมัยที่มีการริเริ่มการปฏิรูปการเมือง การบริหารประเทศ ให้ไปสู่ระบบที่มีความเจริญ สอดคล้องกับการริเริ่มให้สิทธิทางการเมืองการปกครองแก่ประชาชนเป็นอย่างมาก แม้แต่กิจการปกครองท้องถิ่นในปัจจุบันนี้ ก็นับได้ว่าเกิดขึ้นโดยองค์พระมหากษัตริย์ ทรงริเริ่มโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำริว่า การที่มีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านทำการปกครองตำบลและหมู่บ้านของไทยนั้น ทางราชการได้แต่งตั้งบุคคลทำการปกครองมาช้านานแล้ว หากให้ประชาชนได้มีโอกาสเลือกสรรหรือให้สิทธิในการเฟ้นหาตัวผู้ปกครองของเขาเอง ในการนี้ พระองค์ท่านจึงได้มีพระราชดำริให้หลวงเทศาวิกรกิจ ไปทดลองระบบการเลือกตั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านขึ้นที่บางปะอิน จังหวัดอยุธยา จึงนับว่าระบบการกระจายอำนาจการปกครองไปให้ประชาชน ได้ริเริ่มขึ้นเป็นก้าวแรกนับแต่บัดนั้น
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระราชดำริให้มีการทดลองจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่นขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รู้จักการปกครองตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใดควรจัดทำเพื่อรักษาความสะอาดแห่งชุมชนของตน การใดควรจัดทำเพื่อเป็นการบูรณะหรือจัดสร้างขึ้นเพื่อความสะดวกแห่งชุมชน เช่น ถนนหนทาง การติดตามประทีปโคมไฟก็ดี ควรเป็นหน้าที่ของชุมชนนั้น และโดยพระราชประสงค์ดังกล่าวนี้ ก็ได้มีการทดลองจัดตั้งระบบสุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก ได้แก่ สุขาภิบาลกรุงเทพ
ต่อมาในปีพุทธศักราช 2448 ได้มีการขยายกิจการต่อไป โดยประชาชนชาวท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสงคราม ได้จัดสร้างถนนขึ้นโดยน้ำพักน้ำแรง ความร่วมใจของพลเมืองเอง และในการนี้ได้ทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปทำพิธีเปิด เมื่อทำพิธีเปิดแล้ว พระองค์ท่านได้ทรงมอบถนนนี้ให้ชาวเมืองช่วยกันดูแลรักษา และหากมีการที่จะต้องจับจ่ายใช้สอยเงินทองอย่างไร ก็ขอให้เป็นหน้าที่ร่วมใจกันบริจาคเข้าหลักการที่ว่า ผลประโยชน์ของชุมชน ชุมชนช่วยกันค้ำจุนทำนุบำรุงรักษา สำหรับเจ้าหน้าที่ทำการปกครองสุขาภิบาลในขณะนั้น ได้แก่ บุคคลซึ่งทางราชการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรักษาการไปพลางก่อน ซึ่งได้แก่ ผู้ว่าราชการเมือง นายอำเภอ กรรมการอำเภอ และกำนันผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้บริหารงานรับผิดชอบ เรียกว่า กรรมการสุขาภิบาล จากนั้นกิจการสุขาภิบาลได้รับความนิยมและเป็นผลสำเร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงขยายกิจการสุขาภิบาลไปยังหัวเมืองต่าง ๆ และในการนี้ก็ได้ตราพระราชบัญญัติสุขาภิบาลเมือง และสุขาภิบาลท้องถิ่นขึ้น กิจการสุขาภิบาลนัยว่าทำท่าจะแพร่หลาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน กิจการสุขาภิบาลจึงเป็นอันระงับไป
2. สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เถลิงถวัลย์ราชสมบัติสืบต่อเนื่อง มีพระราชประสงค์จะฝึกฝนประชาธิปไตยให้กับประชาชน และได้ทรงริเริ่มการจัดตั้ง ดุสิตธานี ขึ้น โครงการจัดตั้งดุสิตธานีนี้ เป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ต้องการให้ประชาชนชาวไทยได้รู้จักการปกครองตนเองตามคัลลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยแท้ ดังนั้น ในขั้นแรกการดำเนินงานได้สมมติเมืองทดลองขึ้นภายในพระราชวังดุสิต จัดเป็นเขตเมืองทดลองขึ้นเรียกว่า ดุสิตธานี ในเขตการปกครองนี้ สภาเมืองเลือกคณะบุคคลขึ้นเป็นรัฐบาล หรือคณะรัฐมนตรี และให้มีพรรคการเมือง (political party) ขึ้น มีพรรคสนับสนุนรัฐบาล มีพรรคฝ่ายค้าน ซึ่งพรรคการเมืองขณะนั้นปรากฏว่าได้แก่ พรรคโบว์แดง และพรรคโบว์น้ำเงิน ไม่เพียงแต่เท่านั้นยังมีหนังสือพิมพ์เกิดขึ้นเพื่อเป็นปากเป็นเสียงของประชาชน คอยตำหนิรัฐบาลหรือทำการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลได้ หนังสือดังกล่าวมีชื่อว่า เดอะเรคคอตเดอร์
หากจะพิจารณาดูกลไกในการปกครองของดุสิตธานีแล้ว จะเห็นว่าพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สร้างกลไกหรือสถาบันทางการเมือง (political Institution) ต่าง ๆ ตามรูปแบบการปกครองประชาธิปไตย (democracy) ทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้รู้จัก ได้ฝึกหัด ให้เกิดมีความเคยชินหรือประสบการณ์ทางการเมือง นับเป็นความริเริ่ม เป็นการพระราชประสงค์ที่ดีของพระองค์ที่มีต่อพสกนิกรชาวไทย
อย่างไรก็ดี เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคต โครงการดุสิตธานีที่มีทีท่าว่าจะขยายไปยังเมืองต่าง ๆ ก็เป็นอันหยุดระงับไปอีก
3. สมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ต่อมา ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ด้วยพระราชประสงค์และรัฐประศาสนโยบายของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงริเริ่มและดำเนินนโยบายตามรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 นั้น จะเห็นได้ว่า พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้ทรงมีพระราชดำริที่จะให้ประชาชนชาวไทยได้ปกครองตนเองกันอย่างจริงจังขึ้น ตามรูปแบบการปกครองตนเองในนานาประเทศ ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปรึกษากับเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุรีราเมศร์ ว่าอยากจะให้มีคณะกรรมการขึ้นชุดหนึ่งเพื่อพิจารณาการจัดตั้งเทศบาล (municipality) ขึ้นในประเทศไทย และในที่สุดได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย
1. นายอาร์ ดี เครก เป็นประธานกรรมการ
2. อำมาตย์เอก พระกฤษณาพรพันธ์ เป็นกรรมการ
3. พระยาจินดารักษ์ เป็นกรรมการ
4. นายบุญเชย ปิตรชาติ เป็นกรรมการ
คณะกรรมการชุดนี้ได้เดินทางไปศึกษาระบบสุขาภิบาลในประเทศ ในท้องถิ่นต่าง ๆ และต่อมาประธานคณะกรรมการคือนายอาร์ ดี เครก ได้เดินทางไปยุโรปเพื่อดูงานเกี่ยวกับกิจการเทศบาล และในที่สุดได้มีบันทึกข้อความเห็นเสนอรัฐบาลว่า การตั้งเทศบาล (municipality) ควรตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเทศบางขึ้น
ในที่สุด เสนาบดีมหาดไทยได้ทูลเกล้าถวายร่างพระราชบัญญัติเทศบาลต่อพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์ท่านได้พระราชทานร่างพระราชบัญญัติให้สภาเสนาบดีประชุมพิจารณาในรายละเอียดเมื่อ 19 มกราคม 2473 และสภาเสนาบดีเห็นชอบด้วย ซึ่งขณะที่ยกร่างเพื่อทูลเกล้าถวายทรงลงพระปรมาภิไธย ก็เป็นที่น่าเสียดายว่าได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 เกิดขึ้น โครงการจัดตั้งเทศบาลตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวก็จำต้องระงับไป
4. การจัดตั้งหน่วยการปกครองท้องถิ่นหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475
ในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเทศบาลขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งเป็นที่ตระหนักดีว่า โครงการจัดตั้งเทศบาลนั้นได้เริ่มมาตั้งแต่สมัยพระยาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่มีเหตุการณ์จำเป็นต้องระงับไปในเมื่อมีเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้น และต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2476 จึงได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2476 ดังกล่าว ทำให้มีเทศบาลเกิดขึ้นนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2476 ได้มีการจัดตั้งสภาจังหวัดขึ้น เพื่อทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำ ปรึกษาแก่ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือการบริหารกิจการของจังหวัดขึ้น นับเป็นก้าวหนึ่งที่รัฐบาลได้พิจารณาเห็นว่าประกอบการมีภาระหน้าที่อันสำคัญร่วมกับรัฐบาล ในการปกครองส่วนภูมิภาค
ในปี พ.ศ. 2495 ได้มีการรื้อฟื้นระบบสุขาภิบาล ซึ่งได้ระงับไปเป็นเวลานานขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดให้มีการตั้งสุขาภิบาลขึ้นในท้องที่ต่าง ๆ ซึ่งยังไม่มีฐานะเป็นชุมชนเทศบาล แต่เป็นเขตท้องที่ที่มีรายได้ เป็นชุมชนในที่ตั้งอำเภอต่าง ๆ จึงได้ให้มีฐานะเป็นเขตการปกครองสุขาภิบาลขึ้น
ในปี พ.ศ. 2498 หลังจากที่ ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลในขณะนั้น ได้พิจารณาเห็นว่าประชาชนควรได้มีสิทธิและเสียงในการปกครองตนเองอย่างเต็มที่ ตามคัลลองของการปกครองระบอบประชาธิปไตย จึงได้ดำริให้มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดขึ้น โดยรัฐบาลด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด 2498 เป็นผลให้มีองค์การบริหารส่วนจังหวัดเกิดขึ้นนับแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมาในปี พ.ศ. 2499 ในระยะเวลาไล่เรี่ยกันก็ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนตำบล พ.ศ. 2499 ขึ้น เป็นผลให้มีการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลขึ้น เพื่อให้การปกครองระดับตำบลที่มีความเจริญ มีรายได้ ได้มีการปกครองตนเองเกิดขึ้นในรูปขององค์การบริหารส่วนตำบล และในปี พ.ศ. 2515 หน่วยการปกครองระดับองค์การบริหารส่วนตำบล ก็จำเป็นต้องถูกยุบเลิกไป โดยประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 326 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515
ในปี พ.ศ. 2518 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครขึ้นอีก เป็นผลให้กรุงเทพมหานครเป็นรูปการปกครองพิเศษ ตามระบบการปกครองท้องถิ่นอีกรูปหนึ่ง หลังจากที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงการรวมเทศบาลกรุงเทพและธนบุรีเข้าด้วยกัน และมีฐานะเป็นเทศบาลกรุงเทพธนบุรีแล้วนั้น ในที่สุดปัจจุบันกรุงเทพมหานครก็คือหน่วยการปกครองท้องถิ่นรูปพิเศษรูปหนึ่ง
พ.ศ. 2521 ก็ได้มีหน่วยการปกครองท้องถิ่นในรูปพิเศษเกิดขึ้นอีก ตามพระราชบัญญัติการปกครองเมืองพัทยา พ.ศ. 2521 เป็นผลให้พัทยาเป็นเขตการปกครองท้องถิ่นและเป็นรูปการปกครองท้องถิ่นรูปหนึ่ง
อำนาจหน้าที่ของสถาบันตุลาการไทย
สถาบันตุลาการของไทย แม้จะประกอบด้วยศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลรัฐธรรมนูญ แต่ในทางวิชาการแล้ว ระบบศาลของไทยเป็น ”ระบบศาลคู่” เนื่องจากเป็นระบบที่กำหนดให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดคดีแพ่งและคดีอาญา หรือคดีพิพาทระหว่างเอกชนกับเอกชนโดยทั่วไป ส่วนการวินิจฉัยชี้ขาดคดีปกครองหรือคดีที่เอกชนพิพาทกับฝ่ายปกครองเกี่ยวกับการใช้อำนาจทางปกครองนั้น อยู่ในอำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง ซึ่งมีระบบศาลและระบบผู้พิพากษาแยกต่างหากจากระบบศาลและระบบผู้พิพากษาของศาลยุติธรรม
ศาลยุติธรรมมีเขตอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดีต่างๆ โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ทำให้ศาลยุติธรรมมีบทบาทเป็นศาลหลักซึ่งมีเขตอำนาจเป็นการทั่วไปที่ต้องรับคดีที่ไม่อยู่ ในเขตอำนาจของศาลอื่นๆ ที่เป็นศาลเฉพาะไว้พิจารณาพิพากษา แต่โดยทั่วไปแล้ว ศาลยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาซึ่งนับว่าเป็นศาลสูงสุดในระบบศาลยุติธรรมได้จัดโครงสร้างให้มีแผนกต่างๆ เพื่อรับผิดชอบคดีเฉพาะด้าน เช่น แผนกคดีผู้บริโภค แผนกคดีสิ่งแวดล้อม แผนกคดีล้มละลาย แผนกคดีเลือกตั้ง หรือแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งในยุคแห่งการปฏิรูปการเมือง ศาลยุติธรรม โดยเฉพาะศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาของสังคมไทย หรืออีกนัยหนึ่งคือการปฏิรูปการเมือง ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายดังนี้
-ศาลฎีกามีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
-ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
-ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดกรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติด และการยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
-ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา คดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
ศาลปกครอง มีอำนาจหน้าที่หลักคือวินิจฉัยคดีชี้ขาดคดีในทางกฎหมายมหาชน ที่เรียกว่า "คดีการปกครอง" รวมถึงการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือการกระทำทางปกครอง สัญญาทางปกครองหรือนิติกรรมทางปกครองต่างๆ
ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่หลักคือวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือข้อพิพาทเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรต่างๆ การวินิจฉัยชี้ขาดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการการเลือกตั้ง การวินิจฉัยชี้ขาดสมาชิกภาพของรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา รวมไปถึงการควบคุมตรวจสอบพรรคการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย
กล่าวโดยสรุป สถาบันตุลาการไทยถูกกำหนด (โดยกฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ) ให้เป็นสถาบันที่มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการปฏิรูปการเมือง ทั้งในยุคที่ 1 และยุคที่ 2 โดยที่นอกจากบทบาทอำนาจหน้าที่โดยทั่วไป ที่ต้องพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่างๆ ที่อยู่ภายในเขตอำนาจแล้ว (ซึ่งต้องเป็นไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์) ยังกำหนดให้สถาบันตุลาการมีเขตอำนาจในคดีทางการเมืองหรือคดีที่เกี่ยวพันกับการเมือง ซึ่งเป็นบทบาทใหม่ที่ท้าทายมาก ว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้หรือไม่
ยิ่งไปกว่านั้น กำหนดให้สถาบันตุลาการเข้าไปมีบทบาทอำนาจหน้าที่ในกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา รวมทั้งบุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้องค์กรเหล่านี้ไปใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนิติบัญญัติของไทย
ในอีกแง่หนึ่ง “การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย” โดยศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองนั้น เป็นบทบาทอำนาจหน้าที่ซึ่งสอดคล้องกับ “หลักนิติธรรม” ที่กำหนดให้การออกกฎหมายของรัฐสภามีระบบการตรวจสอบความถูกต้อง ชอบธรรมของกระบวนการพิจารณาให้ความเห็นชอบ และการตรวจสอบเนื้อหาสาระของกฎหมาย รวมทั้งระบบการตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมาย กฎ คำสั่ง หรือการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆ ว่าเป็นไปด้วยความถูกต้อง ชอบธรรม ภายใต้ขอบเขตอำนาจที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร
ศาลยุติธรรมมีเขตอำนาจพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดอรรถคดีต่างๆ โดยรัฐธรรมนูญกำหนดให้มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ทำให้ศาลยุติธรรมมีบทบาทเป็นศาลหลักซึ่งมีเขตอำนาจเป็นการทั่วไปที่ต้องรับคดีที่ไม่อยู่ ในเขตอำนาจของศาลอื่นๆ ที่เป็นศาลเฉพาะไว้พิจารณาพิพากษา แต่โดยทั่วไปแล้ว ศาลยุติธรรม มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งและคดีอาญาเป็นหลัก
อย่างไรก็ตาม ศาลฎีกาซึ่งนับว่าเป็นศาลสูงสุดในระบบศาลยุติธรรมได้จัดโครงสร้างให้มีแผนกต่างๆ เพื่อรับผิดชอบคดีเฉพาะด้าน เช่น แผนกคดีผู้บริโภค แผนกคดีสิ่งแวดล้อม แผนกคดีล้มละลาย แผนกคดีเลือกตั้ง หรือแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งในยุคแห่งการปฏิรูปการเมือง ศาลยุติธรรม โดยเฉพาะศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาของสังคมไทย หรืออีกนัยหนึ่งคือการปฏิรูปการเมือง ดังจะเห็นได้จากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญและกฎหมายดังนี้
-ศาลฎีกามีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
-ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้ง และการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
-ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดกรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติด และการยื่นบัญชีทรัพย์สินหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
-ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษา คดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
ศาลปกครอง มีอำนาจหน้าที่หลักคือวินิจฉัยคดีชี้ขาดคดีในทางกฎหมายมหาชน ที่เรียกว่า "คดีการปกครอง" รวมถึงการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของกฎ ระเบียบ คำสั่ง หรือการกระทำทางปกครอง สัญญาทางปกครองหรือนิติกรรมทางปกครองต่างๆ
ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจหน้าที่หลักคือวินิจฉัยชี้ขาดคดีหรือข้อพิพาทเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรต่างๆ การวินิจฉัยชี้ขาดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการการเลือกตั้ง การวินิจฉัยชี้ขาดสมาชิกภาพของรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา รวมไปถึงการควบคุมตรวจสอบพรรคการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย
กล่าวโดยสรุป สถาบันตุลาการไทยถูกกำหนด (โดยกฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ) ให้เป็นสถาบันที่มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการปฏิรูปการเมือง ทั้งในยุคที่ 1 และยุคที่ 2 โดยที่นอกจากบทบาทอำนาจหน้าที่โดยทั่วไป ที่ต้องพิจารณาพิพากษาอรรถคดีต่างๆ ที่อยู่ภายในเขตอำนาจแล้ว (ซึ่งต้องเป็นไปโดยยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์) ยังกำหนดให้สถาบันตุลาการมีเขตอำนาจในคดีทางการเมืองหรือคดีที่เกี่ยวพันกับการเมือง ซึ่งเป็นบทบาทใหม่ที่ท้าทายมาก ว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้หรือไม่
ยิ่งไปกว่านั้น กำหนดให้สถาบันตุลาการเข้าไปมีบทบาทอำนาจหน้าที่ในกระบวนการสรรหาและแต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา รวมทั้งบุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เพื่อให้องค์กรเหล่านี้ไปใช้อำนาจหน้าที่ในการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ และเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนิติบัญญัติของไทย
ในอีกแง่หนึ่ง “การตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย” โดยศาลรัฐธรรมนูญและศาลปกครองนั้น เป็นบทบาทอำนาจหน้าที่ซึ่งสอดคล้องกับ “หลักนิติธรรม” ที่กำหนดให้การออกกฎหมายของรัฐสภามีระบบการตรวจสอบความถูกต้อง ชอบธรรมของกระบวนการพิจารณาให้ความเห็นชอบ และการตรวจสอบเนื้อหาสาระของกฎหมาย รวมทั้งระบบการตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมาย กฎ คำสั่ง หรือการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆ ว่าเป็นไปด้วยความถูกต้อง ชอบธรรม ภายใต้ขอบเขตอำนาจที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ อย่างไร
ระบบบริหารงานไทย
ระบบบริหารราชการไทย
ความหมายของการบริหารราชการ
การบริหารราชการ หรือ การบริหารรัฐกิจ (public administration) สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
การบริหาร (administration) โดยทั่วไป หมายถึง การใช้ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การทำงานสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
ความเห็นของพิฟเนอร์ (Pfifner) มองว่า การบริหารงาน คือ การเชื่อมโยงระหว่างวิธีการ means และวัตถุประสงค์ ends เข้าด้วยกัน โดยอาศัยการจัดองค์การ การอำนวยการ และการสั่งการ เพื่อให้สามารถนำทรัพยากรมาใช้ในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย
สมาน รังสิโยกฤษฏ์ กล่าวว่า การบริหาร (Administration) หมายถึง ความพยายามในการที่จะร่วมมือกันดำเนินงานในหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ส่วนคำว่า ราชการ (Public) หมายถึง งานหรือกิจการต่างๆที่ภาครัฐพึงปฏิบัติทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับราชการพลเรือน ราชการทหาร และรัฐวิสาหกิจ ในบางประเทศจะรวมถึงกิจการของฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการด้วย
ความหมายของการบริหารราชการสามารถแยกพิจารณาได้ 2 กลุ่ม (มุมแคบ/มุมกว้าง)
กลุ่มแรก (มุมแคบ) การบริหารราชการ หมายถึง เฉพาะกิจกรรมที่ดำเนินการโดยฝ่ายบริหารเท่านั้น ดังนั้นในส่วนน้าเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับข้าราชการ
1. ลูเธอร์ กูลิค กล่าวว่า การบริหารราชการ เป็นการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับฝ่ายที่นำนโยบายไปปฏิบัติ
2. เจมส์ ดับบลิว เฟสเลอร์ ให้ความหมายว่า เป็นการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยส่วนราชการต่างๆ และที่สำคัญจะต้องเป็นกิจกรรมที่ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ
3. เฮอร์เบิร์ต ไซมอน มองว่า การบริหารราชการ เป็นการดำเนินกิจกรรม หรือการปฏิบัติหน้าที่ของภาครัฐหรือฝ่ายบริหารทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงงานของรัฐวิสาหกิจด้วย แต่ไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายนิติบัญญัติ และตุลาการ
กลุ่มที่สอง(มุมกว้าง) การบริหารราชการ หมายถึง กิจกรรมทุกปะเภทของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นด้านนิติบัญญัติ ตุลาการ หรือฝ่ายบริหาร
1. ฟิลิกซ์ เอ ไนโกร กล่าวว่า การบริหารราชการ มีความหมายครอบคลุมดังนี้
(1) เป็นความพยายามของกลุ่มที่จะร่วมมือกันปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
(2) กิจกรรมต่างๆครอบคลุมถึงฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ
(3) มีบทบาทในการกำหนดนโยบาย (จึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง)
(4) แตกต่างจากเอกชน
(5) เกี่ยวข้องกับเอกชน ปัจเจกชนหลายคนในการจัดบริการให้ชุมชน
2. มาร์แชล ดิมอค ให้ความหมายของการบริหารราชการว่า หมายถึง การที่รัฐทำอะไรและทำอย่างไร อะไรคือ งานหรือกิจกรรมต่างๆ ส่วนอย่างไรนั้น คือ วิธีดำเนินการ เพื่อให้กิจกรรมบรรลุผล
3. สมาน รังสิโยกฤษฏ์ และสุธี สุทธิสมบูรณ์ กล่าวว่า การบริหารราชการ ก็คือ ความพยายามในการที่จะร่วมมือกันดำเนินงานของส่วนราชการต่างๆ หรือดำเนินกิจกรรมต่างๆที่รัฐพึงปฏิบัติให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น การบริหารราชการนั้น จะต้องประกอบไปด้วย
1. หน่วยงาน หรือส่วนราชการ เพื่อดำเนินกิจการต่างๆที่รัฐพึงปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
2. มีเป้าหมาย ซึ่งสามารถดูได้จาก แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ คำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น
3. ระเบียบบริหารราชการ การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆนั้น จะต้องเป็นไปตามระเบียบบริหารราชการของประเทศนั้นๆด้วย กล่าวคือ เป็นการปฏิบัติงานภายใต้กรอบของกฎหมาย เพื่อให้การใช้ทรัพยากรต่างๆอันประกอบด้วย คน เงิน/งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และรูปแบบการทำงานนั้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ทั้งนี้กฎหมายที่สำคัญในการบริหารราชการ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน เป็นต้น
ความสำคัญของระบบราชการ
การบริหารราชการเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ กล่าวกันว่าหากการบริหารราชการขาดประสิทธิภาพ ระบบการปกครองประเทศก็จะอ่อนแอตามไปด้วย ทั้งนี้เพราะการบริหารราชการนั้น เป็นการนำนโยบายของรัฐไปปฏิบัติ ขณะเดียวกันก็มีส่วนในการกำหนดนโยบาย และยังเป็นกลไกสำคัญที่จะดำรงรักษา และพัฒนาสังคม
1. การนำนโยบายไปปฏิบัติ
ดังได้กล่าวไปแล้วว่า การบริหารราชการ หมายถึง การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยนโยบายของรัฐ ซึ่งนโยบาย ก็คือ กิจกรรมทุกประเภทของภาครัฐทั้งในระดับประเทศ ระดับกระทรวง ทบวง กรม และในระดับท้องถิ่น โดยทั่วไปนโยบายอาจจะอยู่ในรูปของกฎหมาย ระเบียบวิธีปฏิบัติ แผนงาน และโครงการต่างๆ
เมื่อรัฐได้กำหนดนโยบายในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ส่วนราชการจะเป็นผู้ที่นำนโยบายเหล่านั้นไปแปรสภาพให้เป็นการกระทำ เป็นความจริงขึ้นมา ด้วยการจัดหาทรัพยากรและบริหารทรัพยากรเหล่านั้นตามเป้าหมายเพื่อทำให้นโยบายของรัฐบรรลุผล และที่สำคัญก็คือ ความจริงใจ และความเต็มใจในการดำเนินงานตามนโยบายของข้าราชการจะมีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของแผนงานหรือโครงการต่างๆด้วย
ผู้เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
(1) องค์กรฝ่ายบริหาร ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง นายกเทศมนตรี นายกอบจ.
(2) องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ อาทิ รัฐสภา (สส. และสว.) รวมไปถึงสภาท้องถิ่น สภาอบต. สภาเทศบาล
(3) หน่วยงานราชการ เช่น กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล อบจ. อบต.
(4) องค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ เช่น กลุ่ม NGO (องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร) สหภาพ สมาคมแรงงาน รวมถึงบริษัทเอกชนต่างๆ
(5) ตุลาการ ได้แก่ ศาลยุติธรรม ศาล อัยการ
2. การมีส่วนกำหนดนโยบาย
นอกจากการนำนโยบายไปปฏิบัติแล้ว การบริหารราชการยังมีส่วนในการกำหนดนโยบายด้วย ซึ่งกระทำได้ใน 2 ขั้นตอน คือ
2.1 ก่อนที่ฝ่ายนิติบัญญัติและรัฐบาลจะตัดสินใจกำหนดนโยบาย
ในการกำหนดนโยบายนั้น ข้อเสนอสำหรับการกำหนดตัวบทกฎหมายนั้นมาจากแหล่งต่างๆหลายแหล่งด้วยกัน และหน่วยงานของรัฐนับเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญที่สุดแหล่งหนึ่ง เพราะว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบกิจกรรมอยู่ย่อมจะมีข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นอยู่พร้อมแล้ว ไม่ว่าจะ เป็นข้อมูลในด้านความต้องการหรือแนวโน้ม นอกเหนือไปจากการมีผู้เชี่ยวชาญพร้อมจะวิเคราะห์ข้อมูล และยังเป็นหน่วยงานที่รู้ถึงข้อดีข้อเสียของโครงการที่ได้ลงมือปฏิบัติไปแล้วด้วย ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลที่มีอคติน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลที่มาจากแหล่งอื่น เช่น กลุ่มผลประโยชน์
ในระยะหลังหน่วยงานราชการจะมีส่วนในการกำหนดนโยบายของรัฐมากขึ้น เนื่องจากขอเขตของงานเกี่ยวข้องกับเทคนิคใหม่ๆมากขึ้น ซึ่งส่วนราชการมักจะมีผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆพร้อมอยู่แล้ว เช่น การกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ ก็ต้องอาศัยการวิเคราะห์ ข้อแนะนำจากนักเศรษฐศาสตร์อาชีพ เป็นต้น (ปัจจุบัน จะเห็นว่า มีการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา หรือเป็นรัฐมนตรีมากขึ้น)
2.2 หลังการกำหนดนโยบาย
โดยส่วนใหญ่นโยบายที่กำหนดขึ้นมาแล้ว มักจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน บางครั้งก็กำหนดให้รายละเอียดมาก บางครั้งก็กำหนดไว้อย่างกว้างๆ เพียงสะท้อนให้เห็นถึงปัญหา หรือชี้ให้เห็นแนวทางในการปฏิบัติเท่านั้น ดังนั้นในลักษณะนี้ ข้าราชการจะเป็นฝ่ายกำหนดรายละเอียดอีกชั้นหนึ่ง
เหตุผลที่รัฐไม่อาจกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในทุกกรณี เพราะว่า กิจกรรมบางอย่างเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทมาก ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การกำหนดนโยบายจึงต้องมีความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติแก่หน่วยงาน ซึ่งเหมาะสมกว่าการกำหนดนโยบายใหม่ทุกครั้งตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นการเปิดช่องไว้ให้ผู้เชี่ยวชาญได้กำหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเองเพื่อความรัดกุมกว่าได้ (กฎหมายรอง และกฎหมายลูก)
3. การเป็นกลไกธำรงรักษาและพัฒนาสังคม
การบริหารราชการเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจและสังคม และเป็นแรงขับที่สำคัญที่จะกำหนดลักษณะกิจกรรมของประเทศ กิจกรรมของรัฐยังมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมต่างๆตามมา
ในสมัยก่อน การบริหารราชการยังไม่มีความสำคัญต่อชีวิตประชาชนมากนัก ยังมีบทบาทเป็นเพียงเครื่องมือของรัฐในการดูแลให้เกิดความเป็นระเบียบในสังคม ดูแลด้านการป้องกันประเทศ กล่าวคือ ยังไม่ได้มุ่งเน้นทางด้านการให้บริการเช่นปัจจุบัน ทุกวันนี้หน่วยงานของรัฐมีกิจกรรมมากขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และภาครัฐเองยังมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือ การเป็นผู้ผลิต ผู้แจกจ่าย และผู้รับใช้ประชาชน ทั้งนี้เพราะชีวิตของแต่ละบุคคลในสังคมจะเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการตั้งแต่เกิด จนตาย เช่น การที่รัฐเข้าไปดูแลด้านการรักษาพยาบาล การศึกษา(ภาคบังคับ – ขั้นพื้นฐาน) การประกอบอาชีพ(การคุ้มครองแรงงาน – การจัดหางาน) รวมไปถึงประโยชน์และบริการจากรัฐ ทั้งในด้านสาธารณูปโภค การคมนาคม ตัวบทกฎหมายต่างๆ เป็นต้น
ดังนั้น ความก้าวหน้าของสังคมจึงขึ้นอยู่กับความมีประสิทธิภาพในการบริหารของรัฐ หากการบริหารราชการขาดประสิทธิภาพก็จะมีผลกระทบต่อประชาชนและสังคมเป็นอย่างมาก
ประเภทของภารกิจการบริหารราชการ
หน่วยงานของรัฐนั้นจะผลิตสินค้าและบริการที่สนองความต้องการของสมาชิกสังคมโดยส่วนรวม มิใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง สินค้าและบริการเหล่านี้ อาทิ บริการที่ไม่อาจมอบหมายให้เอกชนรับไปดำเนินการได้ เช่น การป้องกันประเทศ และเป็นการผลิตบริการที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนทุกคนว่าจะร่ำรวยหรือยากจน เช่น การศึกษา สำหรับการแบ่งภาระงานการบริหารราชการอาจจะแยกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1. ประเภทงานบริการ ได้แก่ งานที่มีวัตถุประสงค์หลักในการผลิตสินค้าและบริการ
ให้แก่สังคม เช่น งานป้องกันประเทศ งานรักษาความสงบเรียบร้อย งานด้านการศึกษา งานสาธารณสุข ซึ่งมีบุคลากรที่เกี่ยวข้อง อาทิ ทหาร ตำรวจ พนักงานดับเพลิง เป็นต้น
2. ประเภทงานควบคุมและจัดระเบียบ ได้แก่ งานที่มีวัตถุประสงค์ในการแทรกแซงกิจการในตลาดการค้า เพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นธรรมในการแข่งขันทางการค้า ซึ่งส่วนราชการจะทำหน้าที่ควบคุมโดยการกำหนดกฎระเบียบ หรือโดยกิจกรรม เช่น การออกใบอนุญาต การลงทะเบียน การส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศ การดูแลเกษตรกรมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ เป็นต้น
3. ประเภทงานสนับสนุน ได้แก่ งานที่ให้บริการหน่วยงานอื่นๆของภาครัฐ ส่วนราชการในกลุ่มนี้ เช่น สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เป็นต้น
4. ประเภทงานสงเคราะห์และช่วยเหลือ ได้แก่ งานที่ทำหน้าที่ช่วยจัดสรรทรัพยากรให้แก่ผู้ด้อยโอกาส หรือผู้ขาดแคลนทรัพยากรที่จะดำรงชีวิตในสังคม เช่น กรมแรงงาน กรมประชาสงเคราะห์ การพัฒนาชุมชน พัฒนาชนบท เป็นต้น
การแบ่งแยกประเภทภารกิจนี้ไม่ได้เป็นการแยกอย่างเด็ดขาด หน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการ อาจจะทำหน้าที่ด้านการให้ความช่วยเหลือหรือทำหน้าที่ด้านการควบคุมและจัดระเบียบไปพร้อมกันก็ได้ ส่วนภารกิจใดจะสำคัญมากน้อยกว่ากันนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้เกี่ยวข้อง และการนำไปปฏิบัติ
ประเด็นสำคัญในการให้บริการของรัฐ
ความพึงพอใจของประชาชนหรือผู้รับบริการ1. การให้บริการที่เป็นที่พึงพอใจแก่สังคม
เป็นเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของการบริหารราชการ ซึ่งองค์ประกอบที่จะทำให้เกิดความพึงพอใจนั้น มีดังต่อไปนี้
1.1 การให้บริการที่เท่าเทียมกันแก่ประชาชน ไม่ว่าจะมีฐานะหรือสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไรก็ตาม
1.2 การให้บริการในเวลาที่เหมาะสม แม้จะให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน แต่อาจจะไม่สามารถสร้างความพึงพอใจได้ หากไม่ได้ให้บริการในเวลาที่เหมาะสม เช่น งานดับเพลิง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ
1.3 การให้บริการในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปและไม่น้อยจนเกินไป
1.4 การให้บริการที่มีความต่อเนื่อง และประชาชนสามารถขอรับบริการได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ไม่ใช่ให้ๆแล้วก็หยุดตามอำเภอใจ
1.5 มีการปรับปรุงการให้บริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มิใช่การย่ำอยู่กับที่หรือถอยหลัง
2. การให้บริการโดยมีความรับผิดชอบต่อประชาชน โดยทำหน้าที่และให้บริการที่สนองตอบต่อความต้องการของประชาชน การให้บริการที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย มีความซื่อสัตย์
ความหมายของการบริหารราชการ
การบริหารราชการ หรือ การบริหารรัฐกิจ (public administration) สามารถแยกพิจารณาได้ดังนี้
การบริหาร (administration) โดยทั่วไป หมายถึง การใช้ทรัพยากรต่างๆที่มีอยู่ อย่างเป็นระบบ เพื่อให้การทำงานสามารถบรรลุตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
ความเห็นของพิฟเนอร์ (Pfifner) มองว่า การบริหารงาน คือ การเชื่อมโยงระหว่างวิธีการ means และวัตถุประสงค์ ends เข้าด้วยกัน โดยอาศัยการจัดองค์การ การอำนวยการ และการสั่งการ เพื่อให้สามารถนำทรัพยากรมาใช้ในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย
สมาน รังสิโยกฤษฏ์ กล่าวว่า การบริหาร (Administration) หมายถึง ความพยายามในการที่จะร่วมมือกันดำเนินงานในหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
ส่วนคำว่า ราชการ (Public) หมายถึง งานหรือกิจการต่างๆที่ภาครัฐพึงปฏิบัติทั้งในส่วนที่เกี่ยวข้องกับราชการพลเรือน ราชการทหาร และรัฐวิสาหกิจ ในบางประเทศจะรวมถึงกิจการของฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการด้วย
ความหมายของการบริหารราชการสามารถแยกพิจารณาได้ 2 กลุ่ม (มุมแคบ/มุมกว้าง)
กลุ่มแรก (มุมแคบ) การบริหารราชการ หมายถึง เฉพาะกิจกรรมที่ดำเนินการโดยฝ่ายบริหารเท่านั้น ดังนั้นในส่วนน้าเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับข้าราชการ
1. ลูเธอร์ กูลิค กล่าวว่า การบริหารราชการ เป็นการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับฝ่ายที่นำนโยบายไปปฏิบัติ
2. เจมส์ ดับบลิว เฟสเลอร์ ให้ความหมายว่า เป็นการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยส่วนราชการต่างๆ และที่สำคัญจะต้องเป็นกิจกรรมที่ทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ
3. เฮอร์เบิร์ต ไซมอน มองว่า การบริหารราชการ เป็นการดำเนินกิจกรรม หรือการปฏิบัติหน้าที่ของภาครัฐหรือฝ่ายบริหารทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และรัฐบาลท้องถิ่น รวมถึงงานของรัฐวิสาหกิจด้วย แต่ไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายนิติบัญญัติ และตุลาการ
กลุ่มที่สอง(มุมกว้าง) การบริหารราชการ หมายถึง กิจกรรมทุกปะเภทของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นด้านนิติบัญญัติ ตุลาการ หรือฝ่ายบริหาร
1. ฟิลิกซ์ เอ ไนโกร กล่าวว่า การบริหารราชการ มีความหมายครอบคลุมดังนี้
(1) เป็นความพยายามของกลุ่มที่จะร่วมมือกันปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ
(2) กิจกรรมต่างๆครอบคลุมถึงฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ
(3) มีบทบาทในการกำหนดนโยบาย (จึงเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางการเมือง)
(4) แตกต่างจากเอกชน
(5) เกี่ยวข้องกับเอกชน ปัจเจกชนหลายคนในการจัดบริการให้ชุมชน
2. มาร์แชล ดิมอค ให้ความหมายของการบริหารราชการว่า หมายถึง การที่รัฐทำอะไรและทำอย่างไร อะไรคือ งานหรือกิจกรรมต่างๆ ส่วนอย่างไรนั้น คือ วิธีดำเนินการ เพื่อให้กิจกรรมบรรลุผล
3. สมาน รังสิโยกฤษฏ์ และสุธี สุทธิสมบูรณ์ กล่าวว่า การบริหารราชการ ก็คือ ความพยายามในการที่จะร่วมมือกันดำเนินงานของส่วนราชการต่างๆ หรือดำเนินกิจกรรมต่างๆที่รัฐพึงปฏิบัติให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
จากความหมายดังกล่าวข้างต้น การบริหารราชการนั้น จะต้องประกอบไปด้วย
1. หน่วยงาน หรือส่วนราชการ เพื่อดำเนินกิจการต่างๆที่รัฐพึงปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้
2. มีเป้าหมาย ซึ่งสามารถดูได้จาก แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ คำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และมติคณะรัฐมนตรี เป็นต้น
3. ระเบียบบริหารราชการ การปฏิบัติงานของส่วนราชการต่างๆนั้น จะต้องเป็นไปตามระเบียบบริหารราชการของประเทศนั้นๆด้วย กล่าวคือ เป็นการปฏิบัติงานภายใต้กรอบของกฎหมาย เพื่อให้การใช้ทรัพยากรต่างๆอันประกอบด้วย คน เงิน/งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และรูปแบบการทำงานนั้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ทั้งนี้กฎหมายที่สำคัญในการบริหารราชการ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน เป็นต้น
ความสำคัญของระบบราชการ
การบริหารราชการเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ กล่าวกันว่าหากการบริหารราชการขาดประสิทธิภาพ ระบบการปกครองประเทศก็จะอ่อนแอตามไปด้วย ทั้งนี้เพราะการบริหารราชการนั้น เป็นการนำนโยบายของรัฐไปปฏิบัติ ขณะเดียวกันก็มีส่วนในการกำหนดนโยบาย และยังเป็นกลไกสำคัญที่จะดำรงรักษา และพัฒนาสังคม
1. การนำนโยบายไปปฏิบัติ
ดังได้กล่าวไปแล้วว่า การบริหารราชการ หมายถึง การจัดการทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยนโยบายของรัฐ ซึ่งนโยบาย ก็คือ กิจกรรมทุกประเภทของภาครัฐทั้งในระดับประเทศ ระดับกระทรวง ทบวง กรม และในระดับท้องถิ่น โดยทั่วไปนโยบายอาจจะอยู่ในรูปของกฎหมาย ระเบียบวิธีปฏิบัติ แผนงาน และโครงการต่างๆ
เมื่อรัฐได้กำหนดนโยบายในการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้ว ส่วนราชการจะเป็นผู้ที่นำนโยบายเหล่านั้นไปแปรสภาพให้เป็นการกระทำ เป็นความจริงขึ้นมา ด้วยการจัดหาทรัพยากรและบริหารทรัพยากรเหล่านั้นตามเป้าหมายเพื่อทำให้นโยบายของรัฐบรรลุผล และที่สำคัญก็คือ ความจริงใจ และความเต็มใจในการดำเนินงานตามนโยบายของข้าราชการจะมีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของแผนงานหรือโครงการต่างๆด้วย
ผู้เกี่ยวข้องในการนำนโยบายไปปฏิบัติ
(1) องค์กรฝ่ายบริหาร ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวง นายกเทศมนตรี นายกอบจ.
(2) องค์กรฝ่ายนิติบัญญัติ อาทิ รัฐสภา (สส. และสว.) รวมไปถึงสภาท้องถิ่น สภาอบต. สภาเทศบาล
(3) หน่วยงานราชการ เช่น กระทรวง ทบวง กรม เทศบาล อบจ. อบต.
(4) องค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ เช่น กลุ่ม NGO (องค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหากำไร) สหภาพ สมาคมแรงงาน รวมถึงบริษัทเอกชนต่างๆ
(5) ตุลาการ ได้แก่ ศาลยุติธรรม ศาล อัยการ
2. การมีส่วนกำหนดนโยบาย
นอกจากการนำนโยบายไปปฏิบัติแล้ว การบริหารราชการยังมีส่วนในการกำหนดนโยบายด้วย ซึ่งกระทำได้ใน 2 ขั้นตอน คือ
2.1 ก่อนที่ฝ่ายนิติบัญญัติและรัฐบาลจะตัดสินใจกำหนดนโยบาย
ในการกำหนดนโยบายนั้น ข้อเสนอสำหรับการกำหนดตัวบทกฎหมายนั้นมาจากแหล่งต่างๆหลายแหล่งด้วยกัน และหน่วยงานของรัฐนับเป็นแหล่งข้อมูลที่มีความสำคัญที่สุดแหล่งหนึ่ง เพราะว่า หน่วยงานที่รับผิดชอบกิจกรรมอยู่ย่อมจะมีข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมนั้นอยู่พร้อมแล้ว ไม่ว่าจะ เป็นข้อมูลในด้านความต้องการหรือแนวโน้ม นอกเหนือไปจากการมีผู้เชี่ยวชาญพร้อมจะวิเคราะห์ข้อมูล และยังเป็นหน่วยงานที่รู้ถึงข้อดีข้อเสียของโครงการที่ได้ลงมือปฏิบัติไปแล้วด้วย ซึ่งอาจจะเป็นข้อมูลที่มีอคติน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลที่มาจากแหล่งอื่น เช่น กลุ่มผลประโยชน์
ในระยะหลังหน่วยงานราชการจะมีส่วนในการกำหนดนโยบายของรัฐมากขึ้น เนื่องจากขอเขตของงานเกี่ยวข้องกับเทคนิคใหม่ๆมากขึ้น ซึ่งส่วนราชการมักจะมีผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆพร้อมอยู่แล้ว เช่น การกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ ก็ต้องอาศัยการวิเคราะห์ ข้อแนะนำจากนักเศรษฐศาสตร์อาชีพ เป็นต้น (ปัจจุบัน จะเห็นว่า มีการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ปรึกษา หรือเป็นรัฐมนตรีมากขึ้น)
2.2 หลังการกำหนดนโยบาย
โดยส่วนใหญ่นโยบายที่กำหนดขึ้นมาแล้ว มักจะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน บางครั้งก็กำหนดให้รายละเอียดมาก บางครั้งก็กำหนดไว้อย่างกว้างๆ เพียงสะท้อนให้เห็นถึงปัญหา หรือชี้ให้เห็นแนวทางในการปฏิบัติเท่านั้น ดังนั้นในลักษณะนี้ ข้าราชการจะเป็นฝ่ายกำหนดรายละเอียดอีกชั้นหนึ่ง
เหตุผลที่รัฐไม่อาจกำหนดนโยบายที่ชัดเจนในทุกกรณี เพราะว่า กิจกรรมบางอย่างเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทมาก ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การกำหนดนโยบายจึงต้องมีความยืดหยุ่นในทางปฏิบัติแก่หน่วยงาน ซึ่งเหมาะสมกว่าการกำหนดนโยบายใหม่ทุกครั้งตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เป็นต้น นอกจากนั้นยังเป็นการเปิดช่องไว้ให้ผู้เชี่ยวชาญได้กำหนดหลักเกณฑ์ในรายละเอียดเองเพื่อความรัดกุมกว่าได้ (กฎหมายรอง และกฎหมายลูก)
3. การเป็นกลไกธำรงรักษาและพัฒนาสังคม
การบริหารราชการเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจและสังคม และเป็นแรงขับที่สำคัญที่จะกำหนดลักษณะกิจกรรมของประเทศ กิจกรรมของรัฐยังมีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมต่างๆตามมา
ในสมัยก่อน การบริหารราชการยังไม่มีความสำคัญต่อชีวิตประชาชนมากนัก ยังมีบทบาทเป็นเพียงเครื่องมือของรัฐในการดูแลให้เกิดความเป็นระเบียบในสังคม ดูแลด้านการป้องกันประเทศ กล่าวคือ ยังไม่ได้มุ่งเน้นทางด้านการให้บริการเช่นปัจจุบัน ทุกวันนี้หน่วยงานของรัฐมีกิจกรรมมากขึ้นทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และภาครัฐเองยังมีบทบาทในการให้ความช่วยเหลือ การเป็นผู้ผลิต ผู้แจกจ่าย และผู้รับใช้ประชาชน ทั้งนี้เพราะชีวิตของแต่ละบุคคลในสังคมจะเกี่ยวข้องกับการบริหารราชการตั้งแต่เกิด จนตาย เช่น การที่รัฐเข้าไปดูแลด้านการรักษาพยาบาล การศึกษา(ภาคบังคับ – ขั้นพื้นฐาน) การประกอบอาชีพ(การคุ้มครองแรงงาน – การจัดหางาน) รวมไปถึงประโยชน์และบริการจากรัฐ ทั้งในด้านสาธารณูปโภค การคมนาคม ตัวบทกฎหมายต่างๆ เป็นต้น
ดังนั้น ความก้าวหน้าของสังคมจึงขึ้นอยู่กับความมีประสิทธิภาพในการบริหารของรัฐ หากการบริหารราชการขาดประสิทธิภาพก็จะมีผลกระทบต่อประชาชนและสังคมเป็นอย่างมาก
ประเภทของภารกิจการบริหารราชการ
หน่วยงานของรัฐนั้นจะผลิตสินค้าและบริการที่สนองความต้องการของสมาชิกสังคมโดยส่วนรวม มิใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง สินค้าและบริการเหล่านี้ อาทิ บริการที่ไม่อาจมอบหมายให้เอกชนรับไปดำเนินการได้ เช่น การป้องกันประเทศ และเป็นการผลิตบริการที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนทุกคนว่าจะร่ำรวยหรือยากจน เช่น การศึกษา สำหรับการแบ่งภาระงานการบริหารราชการอาจจะแยกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
1. ประเภทงานบริการ ได้แก่ งานที่มีวัตถุประสงค์หลักในการผลิตสินค้าและบริการ
ให้แก่สังคม เช่น งานป้องกันประเทศ งานรักษาความสงบเรียบร้อย งานด้านการศึกษา งานสาธารณสุข ซึ่งมีบุคลากรที่เกี่ยวข้อง อาทิ ทหาร ตำรวจ พนักงานดับเพลิง เป็นต้น
2. ประเภทงานควบคุมและจัดระเบียบ ได้แก่ งานที่มีวัตถุประสงค์ในการแทรกแซงกิจการในตลาดการค้า เพื่อที่จะรักษาไว้ซึ่งความเป็นธรรมในการแข่งขันทางการค้า ซึ่งส่วนราชการจะทำหน้าที่ควบคุมโดยการกำหนดกฎระเบียบ หรือโดยกิจกรรม เช่น การออกใบอนุญาต การลงทะเบียน การส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศ การดูแลเกษตรกรมิให้ถูกเอารัดเอาเปรียบ เป็นต้น
3. ประเภทงานสนับสนุน ได้แก่ งานที่ให้บริการหน่วยงานอื่นๆของภาครัฐ ส่วนราชการในกลุ่มนี้ เช่น สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เป็นต้น
4. ประเภทงานสงเคราะห์และช่วยเหลือ ได้แก่ งานที่ทำหน้าที่ช่วยจัดสรรทรัพยากรให้แก่ผู้ด้อยโอกาส หรือผู้ขาดแคลนทรัพยากรที่จะดำรงชีวิตในสังคม เช่น กรมแรงงาน กรมประชาสงเคราะห์ การพัฒนาชุมชน พัฒนาชนบท เป็นต้น
การแบ่งแยกประเภทภารกิจนี้ไม่ได้เป็นการแยกอย่างเด็ดขาด หน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการ อาจจะทำหน้าที่ด้านการให้ความช่วยเหลือหรือทำหน้าที่ด้านการควบคุมและจัดระเบียบไปพร้อมกันก็ได้ ส่วนภารกิจใดจะสำคัญมากน้อยกว่ากันนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้เกี่ยวข้อง และการนำไปปฏิบัติ
ประเด็นสำคัญในการให้บริการของรัฐ
ความพึงพอใจของประชาชนหรือผู้รับบริการ1. การให้บริการที่เป็นที่พึงพอใจแก่สังคม
เป็นเป้าหมายสำคัญประการหนึ่งของการบริหารราชการ ซึ่งองค์ประกอบที่จะทำให้เกิดความพึงพอใจนั้น มีดังต่อไปนี้
1.1 การให้บริการที่เท่าเทียมกันแก่ประชาชน ไม่ว่าจะมีฐานะหรือสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างไรก็ตาม
1.2 การให้บริการในเวลาที่เหมาะสม แม้จะให้บริการอย่างเท่าเทียมกัน แต่อาจจะไม่สามารถสร้างความพึงพอใจได้ หากไม่ได้ให้บริการในเวลาที่เหมาะสม เช่น งานดับเพลิง การช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ
1.3 การให้บริการในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินไปและไม่น้อยจนเกินไป
1.4 การให้บริการที่มีความต่อเนื่อง และประชาชนสามารถขอรับบริการได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ไม่ใช่ให้ๆแล้วก็หยุดตามอำเภอใจ
1.5 มีการปรับปรุงการให้บริการ ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนและสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มิใช่การย่ำอยู่กับที่หรือถอยหลัง
2. การให้บริการโดยมีความรับผิดชอบต่อประชาชน โดยทำหน้าที่และให้บริการที่สนองตอบต่อความต้องการของประชาชน การให้บริการที่ตรงกลุ่มเป้าหมาย มีความซื่อสัตย์
ความหมายและบทบาทของพรรคการเมือง
พรรคการเมือง คือคณะบุคคลที่รวมตัวกันด้วยความเห็นพ้องในนโยบายทางการปกครองและดำเนินการด้วยวัตถุประสงค์เพื่อจะได้มาซึ่งอำนาจเพื่อปฏิบัติตามนโยบายนั้น”
พรรคการเมืองตามนิยามข้างต้นนี้ ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ มีฐานะทางประวัติศาสตร์เป็นพาหนะสำคัญในการนำการปกครองของอังกฤษให้ก้าวล่วงจากระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ มาสู่ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยการยืนยันว่าระบบรัฐสภานั้นมิใช่ว่าจะให้ ส.ส. ลงมติเห็นชอบในนโยบายใดก่อน แล้วจากนั้นจึงจะให้พระมหากษัตริย์เลือกผู้ใดเป็นรัฐบาลเพื่อปฏิบัติตามนโยบายนั้นต่อไป ทั้ง ๆ ที่ตัวบุคคลที่เป็นรัฐบาลนั้น อาจจะไม่เห็นชอบในนโยบายนั้นเลยก็ได้
หลักการข้างต้นของพระมหากษัตริย์ที่แยกตัวบุคคลออกจากนโยบายนี้ ฝ่ายตรงข้ามคือฝ่ายที่สนับสนุนระบบพรรคการเมืองได้ยืนยันว่าไม่ถูกต้อง เพราะนโยบายใดจะนำไปปฏิบัติให้บรรลุผลได้ ก็ต้องอาศัยตัวบุคคลเจ้าของนโยบายนั้นเป็นผู้ปฏิบัติด้วย สภาผู้แทนจึงมิใช่สนามแก่งแย่งเก้าอี้เพื่อเก้าอี้ หรือเป็นเหมือนแหล่งที่พระมหากษัตริย์จะมาขอนโยบายและเลือกรัฐบาลเอาตามอำเภอใจอีกต่อไป หากจะต้องเป็นแหล่งที่ ส.ส. จะต่อสู้กันด้วยนโยบาย ฝ่ายใดชนะในนโยบายก็ต้องได้เป็นรัฐบาลเพื่อปฏิบัติตามนโยบายนั้น การเปลี่ยนรัฐบาลจึงหมายถึงการเปลี่ยนนโยบาย และการเปลี่ยนนโยบายก็หมายถึงการเปลี่ยนรัฐบาลด้วยเช่นกัน โดยการยืนยันเช่นนี้ พระมหากษัตริย์จึงต้องทรงเป็นกลางในทางการเมือง และยอมรับแต่งตั้งรัฐบาลจากพรรคเสียงข้างมากผู้เป็นเจ้าของนโยบายเสียงข้างมากนั้นเสมอ
ความคิดเช่นนี้แม้ในปัจจุบันจะไม่เป็นที่แปลกหูของคนทั่วไป แต่ในสมัยนั้นก็นับเป็นการปฏิวัติความคิดกันเลยทีเดียว เพราะได้ชี้ให้เห็นว่า การแบ่งกลุ่มแบ่งพรรคพวกเพื่อแย่งอำนาจกันนั้น ถ้ามีนโยบายเป็นข้อแตกต่างแล้ว ก็เป็นระบบที่ชอบธรรมสอดคล้องกับประชาธิปไตยได้ และเมื่อได้ผู้นำที่เก่งกาจประกอบแนวความคิดที่แตกต่างกันแล้ว วิวัฒนาการของพรรคการเมืองก็จะเกิดขึ้น จนหมดระบบพรรคพวก และหมดอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลของพระมหากษัตริย์ไปในที่สุดซึ่งต่อมาเมื่ออังกฤษได้ขยายสิทธิ์เลือกตั้งไปยังประชาชนโดยไม่จำกัดฐานะและเพศแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยจึงเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์นับแต่นั้น ด้วยที่ว่างอันชอบธรรมที่ระบอบประชาธิปไตยมีให้แก่พรรคการเมืองนี้ การปกครองโดยพรรคการเมืองก็จะเกิดขึ้นเป็นส่วนควบคู่ไปกับการปกครองโดยผู้แทน โดยจะมีบทบาทเป็นตัวจัดวางให้ทัศนคติอันคับแคบ และความต้องการอันใช้ทิศทางของเอกชน เกิดเป็นระเบียบเป็นระบบอันเป็นประโยชน์ต่อการปกครองโดยผู้แทน ดังนี้
1) พรรคการเมืองจะเป็นผู้ประมวลปัญหาและความต้องการต่าง ๆ ในสังคม ออกมาเป็นนโยบายสาธารณะ โดยอาจจะมาจากการริเริ่มของพรรคเอง หรือจากการเรียกร้องของประชาชนก็ได้
2) พรรคการเมืองเป็นผู้เสนอทางเลือกต่อประชาชนทั้งแง่ตัวบุคคลและนโยบายทำให้สามารถพิจารณาใช้สิทธิเลือกตั้งของตนได้ชัดเจนขึ้น
3) พรรคการเมืองมีหน้าที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ให้ประชาชนเห็นจริงเห็นจังว่าเสียงของตน ความเห็นของตนนั้นเมื่อผสานกับผู้อื่นแล้ว ก็จะมีผลกำหนดการปกครองได้ ทำให้สิทธิเลือกตั้งมีความหมายต่อประชาชนในที่สุด
4) พรรคการเมืองเป็นตัวการทำให้ประชาชนตื่นตัวในทางการเมืองอยู่เสมอทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง
5) พรรคการเมืองช่วยให้ระบบรัฐบาลเป็นระเบียบและมีวินัย แต่ก็มิใช่เผด็จการเพราะประชาชนอาจถอนความไว้วางใจได้เสมอ
6) ด้วยฐานะที่กว้างขวางของพรรคการเมือง เพราะความจำเป็นที่จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากส่วนรวม พรรคการเมืองจะพยายามประสานความต้องการเฉพาะกลุ่มของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ และท้องถิ่นต่าง ๆ ให้กลายเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อประโยชน์สาธารณะได้
เท่าที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า พรรคการเมืองตามหลักการนี้จะเป็นตัวการ เป็นต้นกำเนิดของการสถาปนาระบบความรับผิดชอบในการปกครองระบบผู้แทนให้เป็นไปได้เลยทีเดียว และขณะเดียวกันก็จะมีผลกระทบเปลี่ยนแปลงรูปโฉมการปกครองในนระบบรัฐสภาแบบดั้งเดิมไปไม่น้อย เช่น
ระบบสองพรรคในอังกฤษ ได้ทำให้การเลือกตั้งผู้แทน มีผลเป็นการเลือกนายกรัฐมนตรีไปในตัว แต่ก็ไม่อาจจะเปรียบเทียบเลยไปว่าเหมือนกับการเลือกประธานาธิบดีได้ เพราะตัวนายกรัฐมนตรีก็ต้องรับผิดชอบต่อคะแนนเสียงภายในพรรคอยู่
ในส่วนของฝรั่งเศสนั้น ระบบหลายพรรคที่มีอยู่ก็เป็นเหตุให้สร้างระบบรัฐสภาที่มีเสถียรภาพขึ้นมาได้ลำบาก จนต้องพยายามจัดระเบียบระบบรัฐสภาอยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งเมื่อไม่ได้ผลก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นระบบกึ่งประธานาธิบดี ให้คณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบทั้งต่อสภาและต่อประธานาธิบดีในที่สุด
นอกจากจำนวนพรรคแล้ว ลักษณะความคิดของพรรคก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เช่นถ้าเป็นพรรคที่เน้นถึงความแตกต่างทางหลักการและนโยบายจนเป็นอุดมคติ เช่นนี้ความขัดแย้งในสังคมก็จะสูงขึ้น การจัดตั้งรัฐบาลก็ทำได้ยากลำบาก จนประชาธิปไตยต้องล้มเหลวถูกเผด็จการยึดครองไปก็ได้ เช่นการปกครองของเยอรมันในสมัยรัฐธรรมนูญไวมาร์ เป็นต้น
ปัญหาประการสุดท้ายในเรื่องระบบพรรคก็คือความเป็นประชาธิปไตยภายใต้ระบบพรรคซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย เพราะถ้าประชาชนติดพรรคจนเกินไปแล้ว การตัดสินใจของพรรคก็จะเป็นการตัดสินใจแทนประชาชนไปในตัว เช่น การตัดสินใจเลือกบุคคลลงสมัครในเขตอันเป็นฐานทัพของพรรค ก็จะมีผลเป็นการกำหนดตัว ส.ส. ไปโดยปริยาย เพราะประชาชนจะเลือกพรรคนั้นอย่างแน่นอนอยู่แล้ว ปัญหาในข้อนี้จงฝากไว้กับประชาชนเองว่า จะหลงเหลือความรับผิดชอบต่อตัวเองสักเพียงใด หากงมงายไปกับพรรคแล้ว พรรคก็จะกลายเป็นเจ้านายประชาชนไปในที่สุด หรือถ้าเป็นพรรคเดียวในแผ่นดินแล้ว กรณีนี้ก็ยิ่งไม่จำเป็นต้องพูดถึงแต่อย่างใด
นอกจากความเป็นตัวของตัวเองของประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว ตัวกำหนดประชาธิปไตยก็ยังอยู่ที่โครงสร้างภายในพรรคด้วยหากเป็นพรรคที่ขาดการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น สมาชิกในระดับท้องถิ่นก็มีฐานะเป็นผู้รับนโยบาย และเลือก ส.ส. ตามที่กรรมการพรรคจะกำหนดตัวผู้สมัครให้เท่านั้น ถ้าเป็นเช่นนี้ก็มีแนวโน้มให้เกิดเผด็จการโดยพรรคได้เช่นกัน
ด้วยข้อวิเคราะห์ข้างต้นทั้งหมด คำกล่าวที่ว่า “พรรคการเมืองเป็นกุญแจของประชาธิปไตย” จึงมีความหมายยืนยันได้แต่เพียงว่าประชาธิปไตยจะทำงานได้ก็ต้องอาศัยพรรคการเมือง ส่วนปัญหาว่าเมื่อมีพรรคการเมืองแล้วจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่นั้นก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งซึ่งต้องศึกษาเป็นกรณี ๆ ไป
พรรคการเมืองตามนิยามข้างต้นนี้ ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศอังกฤษ มีฐานะทางประวัติศาสตร์เป็นพาหนะสำคัญในการนำการปกครองของอังกฤษให้ก้าวล่วงจากระบอบพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ มาสู่ระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยการยืนยันว่าระบบรัฐสภานั้นมิใช่ว่าจะให้ ส.ส. ลงมติเห็นชอบในนโยบายใดก่อน แล้วจากนั้นจึงจะให้พระมหากษัตริย์เลือกผู้ใดเป็นรัฐบาลเพื่อปฏิบัติตามนโยบายนั้นต่อไป ทั้ง ๆ ที่ตัวบุคคลที่เป็นรัฐบาลนั้น อาจจะไม่เห็นชอบในนโยบายนั้นเลยก็ได้
หลักการข้างต้นของพระมหากษัตริย์ที่แยกตัวบุคคลออกจากนโยบายนี้ ฝ่ายตรงข้ามคือฝ่ายที่สนับสนุนระบบพรรคการเมืองได้ยืนยันว่าไม่ถูกต้อง เพราะนโยบายใดจะนำไปปฏิบัติให้บรรลุผลได้ ก็ต้องอาศัยตัวบุคคลเจ้าของนโยบายนั้นเป็นผู้ปฏิบัติด้วย สภาผู้แทนจึงมิใช่สนามแก่งแย่งเก้าอี้เพื่อเก้าอี้ หรือเป็นเหมือนแหล่งที่พระมหากษัตริย์จะมาขอนโยบายและเลือกรัฐบาลเอาตามอำเภอใจอีกต่อไป หากจะต้องเป็นแหล่งที่ ส.ส. จะต่อสู้กันด้วยนโยบาย ฝ่ายใดชนะในนโยบายก็ต้องได้เป็นรัฐบาลเพื่อปฏิบัติตามนโยบายนั้น การเปลี่ยนรัฐบาลจึงหมายถึงการเปลี่ยนนโยบาย และการเปลี่ยนนโยบายก็หมายถึงการเปลี่ยนรัฐบาลด้วยเช่นกัน โดยการยืนยันเช่นนี้ พระมหากษัตริย์จึงต้องทรงเป็นกลางในทางการเมือง และยอมรับแต่งตั้งรัฐบาลจากพรรคเสียงข้างมากผู้เป็นเจ้าของนโยบายเสียงข้างมากนั้นเสมอ
ความคิดเช่นนี้แม้ในปัจจุบันจะไม่เป็นที่แปลกหูของคนทั่วไป แต่ในสมัยนั้นก็นับเป็นการปฏิวัติความคิดกันเลยทีเดียว เพราะได้ชี้ให้เห็นว่า การแบ่งกลุ่มแบ่งพรรคพวกเพื่อแย่งอำนาจกันนั้น ถ้ามีนโยบายเป็นข้อแตกต่างแล้ว ก็เป็นระบบที่ชอบธรรมสอดคล้องกับประชาธิปไตยได้ และเมื่อได้ผู้นำที่เก่งกาจประกอบแนวความคิดที่แตกต่างกันแล้ว วิวัฒนาการของพรรคการเมืองก็จะเกิดขึ้น จนหมดระบบพรรคพวก และหมดอำนาจในการจัดตั้งรัฐบาลของพระมหากษัตริย์ไปในที่สุดซึ่งต่อมาเมื่ออังกฤษได้ขยายสิทธิ์เลือกตั้งไปยังประชาชนโดยไม่จำกัดฐานะและเพศแล้ว ความเป็นประชาธิปไตยจึงเกิดขึ้นโดยสมบูรณ์นับแต่นั้น ด้วยที่ว่างอันชอบธรรมที่ระบอบประชาธิปไตยมีให้แก่พรรคการเมืองนี้ การปกครองโดยพรรคการเมืองก็จะเกิดขึ้นเป็นส่วนควบคู่ไปกับการปกครองโดยผู้แทน โดยจะมีบทบาทเป็นตัวจัดวางให้ทัศนคติอันคับแคบ และความต้องการอันใช้ทิศทางของเอกชน เกิดเป็นระเบียบเป็นระบบอันเป็นประโยชน์ต่อการปกครองโดยผู้แทน ดังนี้
1) พรรคการเมืองจะเป็นผู้ประมวลปัญหาและความต้องการต่าง ๆ ในสังคม ออกมาเป็นนโยบายสาธารณะ โดยอาจจะมาจากการริเริ่มของพรรคเอง หรือจากการเรียกร้องของประชาชนก็ได้
2) พรรคการเมืองเป็นผู้เสนอทางเลือกต่อประชาชนทั้งแง่ตัวบุคคลและนโยบายทำให้สามารถพิจารณาใช้สิทธิเลือกตั้งของตนได้ชัดเจนขึ้น
3) พรรคการเมืองมีหน้าที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ให้ประชาชนเห็นจริงเห็นจังว่าเสียงของตน ความเห็นของตนนั้นเมื่อผสานกับผู้อื่นแล้ว ก็จะมีผลกำหนดการปกครองได้ ทำให้สิทธิเลือกตั้งมีความหมายต่อประชาชนในที่สุด
4) พรรคการเมืองเป็นตัวการทำให้ประชาชนตื่นตัวในทางการเมืองอยู่เสมอทั้งก่อนและหลังเลือกตั้ง
5) พรรคการเมืองช่วยให้ระบบรัฐบาลเป็นระเบียบและมีวินัย แต่ก็มิใช่เผด็จการเพราะประชาชนอาจถอนความไว้วางใจได้เสมอ
6) ด้วยฐานะที่กว้างขวางของพรรคการเมือง เพราะความจำเป็นที่จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากส่วนรวม พรรคการเมืองจะพยายามประสานความต้องการเฉพาะกลุ่มของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ และท้องถิ่นต่าง ๆ ให้กลายเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อประโยชน์สาธารณะได้
เท่าที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า พรรคการเมืองตามหลักการนี้จะเป็นตัวการ เป็นต้นกำเนิดของการสถาปนาระบบความรับผิดชอบในการปกครองระบบผู้แทนให้เป็นไปได้เลยทีเดียว และขณะเดียวกันก็จะมีผลกระทบเปลี่ยนแปลงรูปโฉมการปกครองในนระบบรัฐสภาแบบดั้งเดิมไปไม่น้อย เช่น
ระบบสองพรรคในอังกฤษ ได้ทำให้การเลือกตั้งผู้แทน มีผลเป็นการเลือกนายกรัฐมนตรีไปในตัว แต่ก็ไม่อาจจะเปรียบเทียบเลยไปว่าเหมือนกับการเลือกประธานาธิบดีได้ เพราะตัวนายกรัฐมนตรีก็ต้องรับผิดชอบต่อคะแนนเสียงภายในพรรคอยู่
ในส่วนของฝรั่งเศสนั้น ระบบหลายพรรคที่มีอยู่ก็เป็นเหตุให้สร้างระบบรัฐสภาที่มีเสถียรภาพขึ้นมาได้ลำบาก จนต้องพยายามจัดระเบียบระบบรัฐสภาอยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งเมื่อไม่ได้ผลก็ต้องเปลี่ยนไปเป็นระบบกึ่งประธานาธิบดี ให้คณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบทั้งต่อสภาและต่อประธานาธิบดีในที่สุด
นอกจากจำนวนพรรคแล้ว ลักษณะความคิดของพรรคก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เช่นถ้าเป็นพรรคที่เน้นถึงความแตกต่างทางหลักการและนโยบายจนเป็นอุดมคติ เช่นนี้ความขัดแย้งในสังคมก็จะสูงขึ้น การจัดตั้งรัฐบาลก็ทำได้ยากลำบาก จนประชาธิปไตยต้องล้มเหลวถูกเผด็จการยึดครองไปก็ได้ เช่นการปกครองของเยอรมันในสมัยรัฐธรรมนูญไวมาร์ เป็นต้น
ปัญหาประการสุดท้ายในเรื่องระบบพรรคก็คือความเป็นประชาธิปไตยภายใต้ระบบพรรคซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญไม่น้อย เพราะถ้าประชาชนติดพรรคจนเกินไปแล้ว การตัดสินใจของพรรคก็จะเป็นการตัดสินใจแทนประชาชนไปในตัว เช่น การตัดสินใจเลือกบุคคลลงสมัครในเขตอันเป็นฐานทัพของพรรค ก็จะมีผลเป็นการกำหนดตัว ส.ส. ไปโดยปริยาย เพราะประชาชนจะเลือกพรรคนั้นอย่างแน่นอนอยู่แล้ว ปัญหาในข้อนี้จงฝากไว้กับประชาชนเองว่า จะหลงเหลือความรับผิดชอบต่อตัวเองสักเพียงใด หากงมงายไปกับพรรคแล้ว พรรคก็จะกลายเป็นเจ้านายประชาชนไปในที่สุด หรือถ้าเป็นพรรคเดียวในแผ่นดินแล้ว กรณีนี้ก็ยิ่งไม่จำเป็นต้องพูดถึงแต่อย่างใด
นอกจากความเป็นตัวของตัวเองของประชาชนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งแล้ว ตัวกำหนดประชาธิปไตยก็ยังอยู่ที่โครงสร้างภายในพรรคด้วยหากเป็นพรรคที่ขาดการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น สมาชิกในระดับท้องถิ่นก็มีฐานะเป็นผู้รับนโยบาย และเลือก ส.ส. ตามที่กรรมการพรรคจะกำหนดตัวผู้สมัครให้เท่านั้น ถ้าเป็นเช่นนี้ก็มีแนวโน้มให้เกิดเผด็จการโดยพรรคได้เช่นกัน
ด้วยข้อวิเคราะห์ข้างต้นทั้งหมด คำกล่าวที่ว่า “พรรคการเมืองเป็นกุญแจของประชาธิปไตย” จึงมีความหมายยืนยันได้แต่เพียงว่าประชาธิปไตยจะทำงานได้ก็ต้องอาศัยพรรคการเมือง ส่วนปัญหาว่าเมื่อมีพรรคการเมืองแล้วจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่นั้นก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งซึ่งต้องศึกษาเป็นกรณี ๆ ไป
ระบอบกึ่งประธานาธิบดี
หลังจากที่ได้กล่าวถึงการปกครองระบอบประธานาธิบดี(presidential system)ที่มีสหรัฐอเมริกาเป็นต้นแบบไปแล้วว่ามีหลักการสำคัญและเหมือนหรือแตกต่างจากระบอบรัฐสภา(parliamentary system)อย่างไร ก็ได้มีการแสดงความคิดเห็นตามมาอย่างหลากหลาย ซึ่งกล่าวโดยสรุปได้ว่าระบอบประธานาธิบดีเองนั้นก็มิใช่จะมีความสมบูรณ์หรือ เหมาะสมกับทุกประเทศเพราะมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง ข้อดีก็คือประธานาธิบดีไม่ต้องถูกรัฐสภาตรวจสอบหรือถูกเปิดอภิปรายไม่ไว้ วางใจ แต่ข้อเสียก็คือหากประเทศใดที่ใช้ระบอบนี้ระบบพรรคการเมืองไม่เข้มแข็งก็จะ เกิดความไม่ราบรื่นในการบริหารประเทศตามมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการออกกฎหมาย เป็นต้น
ระบอบกึ่งประธานาธิบดี(semi-presidential system)หรือเรียก อีกอย่างหนึ่งว่าระบอบกึ่งรัฐสภา(semi-parliamentary system)ที่ จะกล่าวถึงนี้ จริงๆแล้วก็คือระบอบประธานาธิบดีนั่นเอง แต่ได้ถูกปรับปรุงหรือแก้ไขหลักการใหม่เพื่อเหมาะสมกับแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศแรกที่นำระบอบกึ่งประธานาธิบดีมาใช้ก็คือประเทศฝรั่งเศส และตามมาด้วยประเทศที่เกิดใหม่ทั้งหลายที่เคยเป็นอดีตสหภาพโซเวียตภายหลัง จากการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์นั่นเอง
ระบอบ กึ่งประธานาธิบดีนี้พัฒนามาจากประเทศฝรั่งเศสในช่วงที่มี ความวุ่นวายทางการเมือง ไม่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีก็จะเกิดข้อขัดแย้งอยู่เสมอ ทำให้การบริหารบ้านเมืองหยุดชะงัก ดังนั้น นักรัฐศาสตร์และนักกฎหมายมหาชนของฝรั่งเศสจึงได้คิดรูปแบบการปกครองใหม่ที่ นำเอาระบอบประธานาธิบดีและระบอบรัฐสภามาผสมผสานกัน โดยให้ประธานาธิบดียังมีอำนาจมากแต่ก็เปิดโอกาสให้รัฐสภาควบคุมการทำงานของ ฝ่ายบริหารได้ด้วย
หลักการสำคัญของระบอบกึ่งประธานาธิบดี
๑) ประธานาธิบดียังคงมีอำนาจสูงสุด เพราะได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนโดยตรง โดยประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล ประธานาธิบดีในระบอบนี้แตกต่างจากระบอบประธานาธิบดีคือประธานาธิบดีจะแบ่ง สรรอำนาจในการบริหารให้แก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลบางส่วน กล่าวให้เข้าใจง่ายๆก็คือประธานาธิบดีมีอำนาจในทางการเมือง ส่วนนายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการบริหารจัดการ แต่อำนาจในการอนุมัติ ตัดสินใจ และการลงนามในกฎหมายยังคงอยู่ที่ประธานาธิบดี ซึ่งแตกต่างจากประธานาธิบดีในระบอบประธานาธิบดีที่จะกุมอำนาจบริหารไว้หมด และจะไม่มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในระบอบนี้ และในทำนองกลับกันตัวประธานาธิบดีในระบอบรัฐสภาก็เป็นเพียงประมุขแต่ไม่มี อำนาจในการบริหาร โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารแทน
๒) อำนาจของรัฐสภาในระบอบนี้อยู่กึ่งกลางระหว่างระบอบรัฐสภาและระบอบประธานาธิบดี คือ รัฐสภามีอำนาจมากรัฐสภาในระบอบประธานาธิบดี แต่ก็ยังมีอำนาจน้อยกว่าระบอบรัฐสภา เพราะรัฐสภามีอำนาจในการควบคุมการทำงานของคณะรัฐมนตรีได้ สามารถตั้งกระทู้ถามหรือเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ได้ ซึ่งในระบอบประธานาธิบดีไม่สามารถทำอย่างนี้ได้
๓) นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภา เนื่องจากนายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีจึงต้องรับผิดชอบต่อประธานาธิบดี แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาด้วย ฉะนั้น นายกรัฐมนตรีจึงมีภาระที่ต้องขึ้นอยู่กับทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภา เพราะทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาสามารถปลดนายกรัฐมนตรีออกได้ นอกจากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีอาจเข้าร่วมการประชุมรัฐสภาได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง
อย่างไร ก็ตามระบอบกึ่งประธานาธิบดีฯนี้ใช่ว่าจะไม่มีข้อดีเสียทีเดียว ไม่เช่นนั้นประเทศที่เกิดใหม่ทั้งหลายคงไม่นำระบอบกึ่งประธานาธิบดีนี้ไปใช้ กันเป็นจำนวนมาก ข้อดีที่เห็นได้ชัดก็คือ การที่ประธานาธิบดีมีอำนาจเด็ดขาดและมีอิสระในการทำงาน ซึ่งเหมาะสมกับประเทศฝรั่งเศสหรือประเทศเกิดใหม่ทั้งหลาย เพราะสภาพบ้านเมืองของประเทศฝรั่งเศสในขณะนั้นและประเทศเกิดใหม่ทั้งหลายหา ผู้ที่มีบารมีหรือมีอิทธิพลทางการเมืองได้ยาก หากใช้ระบอบรัฐสภาก็จะทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพในการบริหารประเทศเพราะมี พรรคเล็กพรรคน้อยจำนวนมาก การที่ประธานาธิบดีมีอำนาจเด็ดขาดจึงทำให้รัฐบาลมีอายุยืนยาวขึ้น สามารถปฏิบัติภารกิจได้เต็มที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภารกิจด้านการทหาร
ข้อ ดีอีกประการหนึ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของระบอบนี้ก็คือการแยกอำนาจทางการเมือง และอำนาจบริหาร ทำให้ประธานาธิบดีไม่ต้องทำงานบริหารแบบงานประจำ เช่น การลงนามลงชื่อในงานประจำทั้งหลาย การแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฯลฯ ประธานาธิบดีในระบอบนี้ได้ใช้เวลาในการปฏิบัติงานด้านการเมืองอย่างเต็มที่ เช่น การเสนอนโยบาย วิเคราะห์และวางแผนทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศ
กล่าว โดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นระบอบประธานาธิบดี ระบอบรัฐสภาหรือระบอบกึ่งประธานาธิบดีต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ประเทศไหนจะใช้การปกครองในระบอบใดย่อมขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางการเมืองของ ประเทศนั้นๆ และขึ้นอยู่กับแนวคิดของประชาชนในชาติว่าจริงๆแล้วเขาต้องการการปกครองใน ระบอบไหน
ระบอบกึ่งประธานาธิบดี(semi-presidential system)หรือเรียก อีกอย่างหนึ่งว่าระบอบกึ่งรัฐสภา(semi-parliamentary system)ที่ จะกล่าวถึงนี้ จริงๆแล้วก็คือระบอบประธานาธิบดีนั่นเอง แต่ได้ถูกปรับปรุงหรือแก้ไขหลักการใหม่เพื่อเหมาะสมกับแต่ละประเทศ ซึ่งประเทศแรกที่นำระบอบกึ่งประธานาธิบดีมาใช้ก็คือประเทศฝรั่งเศส และตามมาด้วยประเทศที่เกิดใหม่ทั้งหลายที่เคยเป็นอดีตสหภาพโซเวียตภายหลัง จากการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์นั่นเอง
ระบอบ กึ่งประธานาธิบดีนี้พัฒนามาจากประเทศฝรั่งเศสในช่วงที่มี ความวุ่นวายทางการเมือง ไม่ว่าใครจะขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีก็จะเกิดข้อขัดแย้งอยู่เสมอ ทำให้การบริหารบ้านเมืองหยุดชะงัก ดังนั้น นักรัฐศาสตร์และนักกฎหมายมหาชนของฝรั่งเศสจึงได้คิดรูปแบบการปกครองใหม่ที่ นำเอาระบอบประธานาธิบดีและระบอบรัฐสภามาผสมผสานกัน โดยให้ประธานาธิบดียังมีอำนาจมากแต่ก็เปิดโอกาสให้รัฐสภาควบคุมการทำงานของ ฝ่ายบริหารได้ด้วย
หลักการสำคัญของระบอบกึ่งประธานาธิบดี
๑) ประธานาธิบดียังคงมีอำนาจสูงสุด เพราะได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนโดยตรง โดยประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาล ประธานาธิบดีในระบอบนี้แตกต่างจากระบอบประธานาธิบดีคือประธานาธิบดีจะแบ่ง สรรอำนาจในการบริหารให้แก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐบาลบางส่วน กล่าวให้เข้าใจง่ายๆก็คือประธานาธิบดีมีอำนาจในทางการเมือง ส่วนนายกรัฐมนตรีมีอำนาจในการบริหารจัดการ แต่อำนาจในการอนุมัติ ตัดสินใจ และการลงนามในกฎหมายยังคงอยู่ที่ประธานาธิบดี ซึ่งแตกต่างจากประธานาธิบดีในระบอบประธานาธิบดีที่จะกุมอำนาจบริหารไว้หมด และจะไม่มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในระบอบนี้ และในทำนองกลับกันตัวประธานาธิบดีในระบอบรัฐสภาก็เป็นเพียงประมุขแต่ไม่มี อำนาจในการบริหาร โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารแทน
๒) อำนาจของรัฐสภาในระบอบนี้อยู่กึ่งกลางระหว่างระบอบรัฐสภาและระบอบประธานาธิบดี คือ รัฐสภามีอำนาจมากรัฐสภาในระบอบประธานาธิบดี แต่ก็ยังมีอำนาจน้อยกว่าระบอบรัฐสภา เพราะรัฐสภามีอำนาจในการควบคุมการทำงานของคณะรัฐมนตรีได้ สามารถตั้งกระทู้ถามหรือเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ได้ ซึ่งในระบอบประธานาธิบดีไม่สามารถทำอย่างนี้ได้
๓) นายกรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภา เนื่องจากนายกรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรีจึงต้องรับผิดชอบต่อประธานาธิบดี แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาด้วย ฉะนั้น นายกรัฐมนตรีจึงมีภาระที่ต้องขึ้นอยู่กับทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภา เพราะทั้งประธานาธิบดีและรัฐสภาสามารถปลดนายกรัฐมนตรีออกได้ นอกจากนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีอาจเข้าร่วมการประชุมรัฐสภาได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง
อย่างไร ก็ตามระบอบกึ่งประธานาธิบดีฯนี้ใช่ว่าจะไม่มีข้อดีเสียทีเดียว ไม่เช่นนั้นประเทศที่เกิดใหม่ทั้งหลายคงไม่นำระบอบกึ่งประธานาธิบดีนี้ไปใช้ กันเป็นจำนวนมาก ข้อดีที่เห็นได้ชัดก็คือ การที่ประธานาธิบดีมีอำนาจเด็ดขาดและมีอิสระในการทำงาน ซึ่งเหมาะสมกับประเทศฝรั่งเศสหรือประเทศเกิดใหม่ทั้งหลาย เพราะสภาพบ้านเมืองของประเทศฝรั่งเศสในขณะนั้นและประเทศเกิดใหม่ทั้งหลายหา ผู้ที่มีบารมีหรือมีอิทธิพลทางการเมืองได้ยาก หากใช้ระบอบรัฐสภาก็จะทำให้รัฐบาลไม่มีเสถียรภาพในการบริหารประเทศเพราะมี พรรคเล็กพรรคน้อยจำนวนมาก การที่ประธานาธิบดีมีอำนาจเด็ดขาดจึงทำให้รัฐบาลมีอายุยืนยาวขึ้น สามารถปฏิบัติภารกิจได้เต็มที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภารกิจด้านการทหาร
ข้อ ดีอีกประการหนึ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของระบอบนี้ก็คือการแยกอำนาจทางการเมือง และอำนาจบริหาร ทำให้ประธานาธิบดีไม่ต้องทำงานบริหารแบบงานประจำ เช่น การลงนามลงชื่อในงานประจำทั้งหลาย การแต่งตั้งโยกย้ายเจ้าหน้าที่ของรัฐ ฯลฯ ประธานาธิบดีในระบอบนี้ได้ใช้เวลาในการปฏิบัติงานด้านการเมืองอย่างเต็มที่ เช่น การเสนอนโยบาย วิเคราะห์และวางแผนทางการเมืองทั้งภายในและภายนอกประเทศ
กล่าว โดยทั่วไปแล้วไม่ว่าจะเป็นระบอบประธานาธิบดี ระบอบรัฐสภาหรือระบอบกึ่งประธานาธิบดีต่างก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ประเทศไหนจะใช้การปกครองในระบอบใดย่อมขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางการเมืองของ ประเทศนั้นๆ และขึ้นอยู่กับแนวคิดของประชาชนในชาติว่าจริงๆแล้วเขาต้องการการปกครองใน ระบอบไหน
การปกครองระบอบเผด็จการ
ความหมายของระบอบเผด็จการ
ระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการ หมายถึง ระบบการเมืองการปกครองที่ให้ความสำคัญกับผู้ปกครองหรือรัฐบาลมา กกว่าเสรีภาพส่วนบุคคล ประชาชนไม่มีสิทธิเข้าไปมีส่วนในการปกครอง เป็นแต่เพียงต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือนโยบายของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด
ระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการทุกรูปแบบ จะยึดหลักการที่เหมือนกัน คือ ปรัชญาการใช้กำลัง ซึ่งถือว่าผู้เข้มแข็งมี อิทธิพลและกำลังย่อมมีสิทธิได้รับอำนาจการปกครอง โดยถือว่าอำนาจคือ ธรรม แนวคิดในเรื่องเผ็ดการทางการเมืองส่วนใหญ่มักจะมองจากข้อเขียนและแนวปฏิบัติของ เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำของ อิตาลี และ อดอร์ฟฮิตเลอร์ ผู้นำของเยอรมนีในช่วงสงครามครั้งที่สองแต่ความจริงเผด็จการมีมาแต่โบราณกาลแล้ว ซึ่งอาจแบ่งความหมายของเผ็ดการได้เป็น 3 ฐานะด้วยกัน คือ
1.เผด็จการในฐานะที่เป็นแนวคิดทางการเมือง แนวคิดทางการเมืองของระบอบเผด็จการเชื่อว่ารัฐเป็นเสมือนผู้ที่ เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมดี ความถูกต้อง และความยุติธรรม รัฐเป็นผู้ถ่ายทอดความดีงามเหล่านี้ไปสู่ประชาชน ประชาชนจึงมีหน้าที่ที่จะต้องเชื่องฟัง ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐ ส่วนตัวแทนของรัฐออกคำสั่งให้ประชาชนปฏิบัติตาม ก็คือ ผู้นำ ซึ่งอาจมีผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดเพียงผู้เดียว หรืออาจเป็นกลุ่มผู้นำก็ได้ อุดมการณ์ของระบบเผด็จ การนั้นถือว่าผู้นำเป็นผู้ที่มีลักษณะพิเศษ ที่สามารถล่วงรู้เจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างถูกต้องการกระทำได ของผู้นำจึงเป็นการกระทำไปด้วยเจตนารมณ์ของประชาชน ผู้นำจึงอยู่ในฐานะที่ทำอะไรได้ทุกอย่างโดยไม่มีความผิด ฉะนั้นการ ที่มีผู้ขัดขวางหรือไม่เห็นด้วยกับผู้นำจะถูกกล่าวหาเป็นผู้หวังจะทำลายชาติและประชาชน
2.เผด็จการในฐานะที่เป็นรูปแบบการปกครอง การปกครองเผด็จการโดยทั่วไป หมายถึงระบอบร่วมอำนาจของผู้ปกครอง คือ ผู้ปกครองต้องยึดอำนาจรัฐไว้ได้ ส่วนใหญ่มักจะใช่วิธีการรุนแรงในการได้มาซึ่งอำนาจนั้น เช่น การทำรัฐประหารโดยผู้นำรัฐประหารหรือผู้นำเผด็จเหล่านี้พยายามใช่วิธีการทุกอย่างเพื่อที่จะรักษาอำนาจนั้นไว้ และขยายอำนาจเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจมีการจัดสรรตำแหน่งทางการเมือง ที่สำคัญๆในระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ผู้ใกล้ชิดหรือญาติมิตรคุมกองกำลังที่ มีอาวุธทั้งทหารและตำรวจ
3.เผด็จการในฐานะที่เป็นวิธีชีวิต หมายถึง ความเชื่อ ค่านิยม แนวคิด ตลอดจนแนวปฏิบัติของคนในสังคม ซึ่งอาจเป็นสังคมประชาธิปไตยก็ได้ โดยมีความเชื่อว่าคนเราเกิดมาแต่ละคนย่อมมีความแต่ต่างกันในทุก ด้าน ผู้ที่ด้อยกว่าต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้ ที่เหนือกว่า ทั้งนี้ เพื่อจะให้สังคมอยู่รอดปลอดภัยและก้าวหน้าอย่างเป็นเอกภาพ ความเชื่อระบอบเผด็จการกลุ่มนี้จึงพยายามไม่ให้ความขัดแย้งขึ้น ในสังคมซึ่งเสมือนเป็นตัวบ่อนทำลายเสถียรของสังคมและนิยมใช้อำนาจในการ ขจัดขัดแย้งมากกว่าที่จะใช้วิธีการประนีประนอม
ระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการ หมายถึง ระบบการเมืองการปกครองที่ให้ความสำคัญกับผู้ปกครองหรือรัฐบาลมา กกว่าเสรีภาพส่วนบุคคล ประชาชนไม่มีสิทธิเข้าไปมีส่วนในการปกครอง เป็นแต่เพียงต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือนโยบายของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด
ระบบการเมืองการปกครองแบบเผด็จการทุกรูปแบบ จะยึดหลักการที่เหมือนกัน คือ ปรัชญาการใช้กำลัง ซึ่งถือว่าผู้เข้มแข็งมี อิทธิพลและกำลังย่อมมีสิทธิได้รับอำนาจการปกครอง โดยถือว่าอำนาจคือ ธรรม แนวคิดในเรื่องเผ็ดการทางการเมืองส่วนใหญ่มักจะมองจากข้อเขียนและแนวปฏิบัติของ เบนิโต มุสโสลินี ผู้นำของ อิตาลี และ อดอร์ฟฮิตเลอร์ ผู้นำของเยอรมนีในช่วงสงครามครั้งที่สองแต่ความจริงเผด็จการมีมาแต่โบราณกาลแล้ว ซึ่งอาจแบ่งความหมายของเผ็ดการได้เป็น 3 ฐานะด้วยกัน คือ
1.เผด็จการในฐานะที่เป็นแนวคิดทางการเมือง แนวคิดทางการเมืองของระบอบเผด็จการเชื่อว่ารัฐเป็นเสมือนผู้ที่ เพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมดี ความถูกต้อง และความยุติธรรม รัฐเป็นผู้ถ่ายทอดความดีงามเหล่านี้ไปสู่ประชาชน ประชาชนจึงมีหน้าที่ที่จะต้องเชื่องฟัง ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐ ส่วนตัวแทนของรัฐออกคำสั่งให้ประชาชนปฏิบัติตาม ก็คือ ผู้นำ ซึ่งอาจมีผู้นำที่มีอำนาจสูงสุดเพียงผู้เดียว หรืออาจเป็นกลุ่มผู้นำก็ได้ อุดมการณ์ของระบบเผด็จ การนั้นถือว่าผู้นำเป็นผู้ที่มีลักษณะพิเศษ ที่สามารถล่วงรู้เจตนารมณ์ของประชาชนได้อย่างถูกต้องการกระทำได ของผู้นำจึงเป็นการกระทำไปด้วยเจตนารมณ์ของประชาชน ผู้นำจึงอยู่ในฐานะที่ทำอะไรได้ทุกอย่างโดยไม่มีความผิด ฉะนั้นการ ที่มีผู้ขัดขวางหรือไม่เห็นด้วยกับผู้นำจะถูกกล่าวหาเป็นผู้หวังจะทำลายชาติและประชาชน
2.เผด็จการในฐานะที่เป็นรูปแบบการปกครอง การปกครองเผด็จการโดยทั่วไป หมายถึงระบอบร่วมอำนาจของผู้ปกครอง คือ ผู้ปกครองต้องยึดอำนาจรัฐไว้ได้ ส่วนใหญ่มักจะใช่วิธีการรุนแรงในการได้มาซึ่งอำนาจนั้น เช่น การทำรัฐประหารโดยผู้นำรัฐประหารหรือผู้นำเผด็จเหล่านี้พยายามใช่วิธีการทุกอย่างเพื่อที่จะรักษาอำนาจนั้นไว้ และขยายอำนาจเพิ่มมากขึ้นซึ่งอาจมีการจัดสรรตำแหน่งทางการเมือง ที่สำคัญๆในระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ผู้ใกล้ชิดหรือญาติมิตรคุมกองกำลังที่ มีอาวุธทั้งทหารและตำรวจ
3.เผด็จการในฐานะที่เป็นวิธีชีวิต หมายถึง ความเชื่อ ค่านิยม แนวคิด ตลอดจนแนวปฏิบัติของคนในสังคม ซึ่งอาจเป็นสังคมประชาธิปไตยก็ได้ โดยมีความเชื่อว่าคนเราเกิดมาแต่ละคนย่อมมีความแต่ต่างกันในทุก ด้าน ผู้ที่ด้อยกว่าต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตามผู้ ที่เหนือกว่า ทั้งนี้ เพื่อจะให้สังคมอยู่รอดปลอดภัยและก้าวหน้าอย่างเป็นเอกภาพ ความเชื่อระบอบเผด็จการกลุ่มนี้จึงพยายามไม่ให้ความขัดแย้งขึ้น ในสังคมซึ่งเสมือนเป็นตัวบ่อนทำลายเสถียรของสังคมและนิยมใช้อำนาจในการ ขจัดขัดแย้งมากกว่าที่จะใช้วิธีการประนีประนอม
วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554
การปกครองระบอบประชาธิปไตย
การปกครองระบอบประชาธิปไตย หมายถึง การปกครองที่ประชาชนมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในรัฐ
ลักษณะสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นในสมัยกรีกโบราณ โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- ลักษณะทางสังคม คือ ความเสมอภาคในการดำเนินชีวิต ทุกคนมีส่วนเท่าเทียมกัน
- ลักษณะทางเศรษฐกิจ คือ ประชาชนมีโอกาสจะได้รับประโยชน์สุขทางเศรษฐกิจ
- ลักษณะทางการเมือง คือ ประชาชนมีสิทธิทาการเมือง เช่น การออกเสียงเลือกตั้ง
หลักการระบอบประชาธิปไตย มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจรัฐ
2.ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง
3.หลักการปกครองเพื่อประโยชน์ของประชาชน
4.การใช้หลักเหตุผล คือ นำเหตุผลมาประกอบความคิดเห็นในการดำเนินงานต่าง ๆ
5.หลักความยินยอม หลักประชาธิปไตยต้องการให้มีการกระทำด้วยความสมัครใจ
6.หลักการปกครองโดยเสียงข้างมากในการแสวงหาข้อยุติการตัดสินใจ
7.รัฐบาลมีอำนาจจำกัดและจำเป็น โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
8.หลักเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในการใช้สิทธิอันชอบธรรม
9.หลักการประนีประนอม กล่าวคือ พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง
รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยทางตรง คือ ให้ประชาชนของประเทศใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรง ในทางปฏิบัติจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อประเทศนั้นมีจำนวนประชากรไม่มากนักสามารถร่วมประชุมปรึกษาหารือกันได้โดยตรงไม่ตองมีตัวแทน
ประชาธิปไตยทางอ้อม คือ ประชาชนจะเลือกผู้แทนมาทำหน้าที่ปกครองประเทศแทนตน โดยให้เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในด้านต่าง ๆ เช่น อำนาจนิติบัญญัติ เป็นต้น ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ก็ใช้หลักการของระบอบประชาธิปไตยทางอ้อมทั้งสิ้น ซึ่งปรากฏในรูปแบบต่างๆ กัน ดังนี้
1.ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
2.ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี
3.การปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา
แนวความคิดที่จะนำเอารูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาใช้ในประเทศไทย ได้เริ่มต้นขึ้นให้เห็นเป็นรูปธรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงดำเนินรัฐประศาสโนบาย เพื่อเป็นการปูพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไปดังเช่น โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ เพื่อถวายคำปรึกษาและความคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการปกครอง
ในปีพุทธศักราช 2417 หรือการปฏิรูประบบราชการ ปีพุทธศักราช 2435 และที่สำคัญคือการเลิกทาส ซึ่งนับเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กระแสความต้องการการเปลี่ยนแปลงการปกครองทวีความรุนแรงขึ้นพระองค์ทรงจัดตั้งเมืองสมมุติขึ้นมีชื่อว่า" ดุสิตธานี " ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณพระราชวังดุสิต เพื่อทดลองการปกครองบ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในปีพุทธศักราช 2468 พระองค์ทรงตั้งพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะวางรากฐานการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังปรากฏหลักฐานและเอกสารการเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนหลายครั้ง แต่ถูกยับยั้งจากที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควรช่วงเวลานั้นกระแสการเรียกร้องการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีความรุนแรงยิ่งขึ้นจนในที่สุดมีกลุ่มบุคคลที่เรียกตัวเองว่า" คณะราษฎร" ได้ร่วมกันดำเนินการเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยเหตุผลที่ว่า
1.พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาแห่งเกียรติศักดิ์ เพราะทรงมีพระราชตระกูลสูง ย่อมทำให้เกิดความไว้วางใจและศรัทธาต่อพระองค์ สมคำกล่าวที่ว่า "พระราชาเป็นสง่าแห่งแว่นแคว้น"
2.เหตุที่ทรงรับตำแหน่ง เพราะสืบราชสันตติวงศ์ ไม่ใช่เพราะคะแนนเสียงจากผู้ใด จึงทำให้ทรงเป็นกลางทางการเมืองได้อย่างแท้จริง มีผลให้ทรงประสานผลประโยชน์ของชาติลุล่วงได้ด้วยดี
3.เพราะทรงเป็นประมุขของประเทศอย่างถาวร ทำให้ทรงมีโอกาสสะสมประสบการณ์ มีพระปรีชาสามารถ เข้าพระราชหฤทัยถึงปัญหาของการบริหารราชการ
4.ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งความเป็นชาติและความสามัคคีของคนในชาติ ในขณะที่นักการเมืองอื่นไม่สามารถทำได้ เพราะเมื่อมีการเมืองเข้าเกี่ยวข้องก็อาจเกิดความขัดแย้งกันได้
ลักษณะสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือกำเนิดขึ้นในสมัยกรีกโบราณ โดยมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
- ลักษณะทางสังคม คือ ความเสมอภาคในการดำเนินชีวิต ทุกคนมีส่วนเท่าเทียมกัน
- ลักษณะทางเศรษฐกิจ คือ ประชาชนมีโอกาสจะได้รับประโยชน์สุขทางเศรษฐกิจ
- ลักษณะทางการเมือง คือ ประชาชนมีสิทธิทาการเมือง เช่น การออกเสียงเลือกตั้ง
หลักการระบอบประชาธิปไตย มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจรัฐ
2.ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครอง
3.หลักการปกครองเพื่อประโยชน์ของประชาชน
4.การใช้หลักเหตุผล คือ นำเหตุผลมาประกอบความคิดเห็นในการดำเนินงานต่าง ๆ
5.หลักความยินยอม หลักประชาธิปไตยต้องการให้มีการกระทำด้วยความสมัครใจ
6.หลักการปกครองโดยเสียงข้างมากในการแสวงหาข้อยุติการตัดสินใจ
7.รัฐบาลมีอำนาจจำกัดและจำเป็น โดยไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน
8.หลักเสรีภาพและความเสมอภาคของประชาชนในการใช้สิทธิอันชอบธรรม
9.หลักการประนีประนอม กล่าวคือ พยายามหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง
รูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยทางตรง คือ ให้ประชาชนของประเทศใช้อำนาจอธิปไตยโดยตรง ในทางปฏิบัติจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อประเทศนั้นมีจำนวนประชากรไม่มากนักสามารถร่วมประชุมปรึกษาหารือกันได้โดยตรงไม่ตองมีตัวแทน
ประชาธิปไตยทางอ้อม คือ ประชาชนจะเลือกผู้แทนมาทำหน้าที่ปกครองประเทศแทนตน โดยให้เป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยในด้านต่าง ๆ เช่น อำนาจนิติบัญญัติ เป็นต้น ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ก็ใช้หลักการของระบอบประชาธิปไตยทางอ้อมทั้งสิ้น ซึ่งปรากฏในรูปแบบต่างๆ กัน ดังนี้
1.ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
2.ประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี
3.การปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา
แนวความคิดที่จะนำเอารูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยมาใช้ในประเทศไทย ได้เริ่มต้นขึ้นให้เห็นเป็นรูปธรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงดำเนินรัฐประศาสโนบาย เพื่อเป็นการปูพื้นฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไปดังเช่น โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินและสภาที่ปรึกษาในพระองค์ เพื่อถวายคำปรึกษาและความคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับการปกครอง
ในปีพุทธศักราช 2417 หรือการปฏิรูประบบราชการ ปีพุทธศักราช 2435 และที่สำคัญคือการเลิกทาส ซึ่งนับเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กระแสความต้องการการเปลี่ยนแปลงการปกครองทวีความรุนแรงขึ้นพระองค์ทรงจัดตั้งเมืองสมมุติขึ้นมีชื่อว่า" ดุสิตธานี " ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณพระราชวังดุสิต เพื่อทดลองการปกครองบ้านเมืองในระบอบประชาธิปไตย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชสมบัติในปีพุทธศักราช 2468 พระองค์ทรงตั้งพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะวางรากฐานการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ดังปรากฏหลักฐานและเอกสารการเตรียมการพระราชทานรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชนหลายครั้ง แต่ถูกยับยั้งจากที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาว่ายังไม่ถึงเวลาอันสมควรช่วงเวลานั้นกระแสการเรียกร้องการปกครองระบอบประชาธิปไตยมีความรุนแรงยิ่งขึ้นจนในที่สุดมีกลุ่มบุคคลที่เรียกตัวเองว่า" คณะราษฎร" ได้ร่วมกันดำเนินการเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย และมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยเหตุผลที่ว่า
1.พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่มาแห่งเกียรติศักดิ์ เพราะทรงมีพระราชตระกูลสูง ย่อมทำให้เกิดความไว้วางใจและศรัทธาต่อพระองค์ สมคำกล่าวที่ว่า "พระราชาเป็นสง่าแห่งแว่นแคว้น"
2.เหตุที่ทรงรับตำแหน่ง เพราะสืบราชสันตติวงศ์ ไม่ใช่เพราะคะแนนเสียงจากผู้ใด จึงทำให้ทรงเป็นกลางทางการเมืองได้อย่างแท้จริง มีผลให้ทรงประสานผลประโยชน์ของชาติลุล่วงได้ด้วยดี
3.เพราะทรงเป็นประมุขของประเทศอย่างถาวร ทำให้ทรงมีโอกาสสะสมประสบการณ์ มีพระปรีชาสามารถ เข้าพระราชหฤทัยถึงปัญหาของการบริหารราชการ
4.ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งความเป็นชาติและความสามัคคีของคนในชาติ ในขณะที่นักการเมืองอื่นไม่สามารถทำได้ เพราะเมื่อมีการเมืองเข้าเกี่ยวข้องก็อาจเกิดความขัดแย้งกันได้
วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)