รูปถ่าย

บล๊อกนี้ใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวันของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

การพัฒนาระบบราชการของพรรคเพื่อไทย

นโยบายบริหาร


พรรคเพื่อไทยมีนโยบายในการเสริมสร้างประสิทธิภาพของการบริหารที่สำคัญคือ ปรับเปลี่ยนกลไกการทำงานของภาครัฐให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการปรับปรุงวิธีคิดและทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน บนพื้นฐานของหลักการการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและสาธารณชน

การพัฒนระบบราชการ เป็นนโยบายการบริหารที่มีความสำคัญเร่งด่วน พรรคมีเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาระบบราชการต่อเนื่องจากการปฏิรูปราชการเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของภาครัฐจากผู้ปฏิบัติและควบคุม มาเป็นผู้สนับสนุนและอำนวยความสะดวก ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชน และภาคประชาชนอย่างแท้จริง โดยปรับปรุงการบริหารการจัดการ ได้แก่ การปฏิบัติหน้าที่อย่างมีหลักการสมเหตุ สมผล มีความรับผิดชอบ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การสร้างความโปร่งใสเปิดเผยของระบบราชการ โดยเฉพาะความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และการบริหารจัดการที่สามารถคาดคะเนผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน

ปรับเปลี่ยนแนวความคิดของการบริหารราชการที่มีลักษณะของการปกครอง มาเป็นการบริหารราชการในเชิงของการพัฒนา โดยประสานความร่วมมือของหน่วยราชการทุกหน่วย ให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพในทิศทางเดียวกัน ทำให้ระบบราชการมีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น มีโครงสร้างที่กระชับเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยให้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนมากขึ้น มีความรวดเร็วต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชนยิ่งขึ้น มีคุณภาพของงานบริการในระดับมาตรฐานสากล มีการสร้างนวัตกรรมการทำงานอย่างประหยัดมีประสิทธิภาพ สามารถวัดความพึงพอใจของประชาชนได้ เน้นการพัฒนาทั้งคนและระบบ โดยให้งานบริการสาธารณะสิ้นสุดที่ระดับชุมชนให้มากที่สุด

พรรคมุ่งให้ข้าราชการมีทัศนคติที่เอื้อต่องานบริการประชาชน ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ยึดถือกฎระเบียบจนสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชน มีความหวงแหนทรัพย์สินสาธารณะ มีความซื่อสัตย์ขยันอดทน มีขวัญกำลังใจ และมีภาวะผู้นำในด้านความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตลอดทั้งการริเริ่มระบบราชการที่เน้นการจัดจ้าง โดยการทำสัญญาที่สามารถประเมินผลงานได้ด้วยระบบคุณธรรม และให้หลักประกันความมั่นคงบนพื้นฐานของความรู้ความสามารถและผลงานสาธารณะ

นโยบายการกระจายอำนาจการบริหาร พรรคจะส่งเสริมการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ส่วนท้องถิ่น โดยจะต้องให้ความสำคัญกับการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่น ต้องมีการกระจายอำนาจทางการคลังให้กับท้องถิ่นให้สามารถจัดการบริหารงบประมาณของตนเองได้อย่างอิสระมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ให้สอดคล้องกับภารกิจของแต่ละท้องถิ่น รวมถึงการมีอิสระในการจัดการด้านงบประมาณของท้องถิ่น การแสวงหารายได้และการจัดการทรัพย์สินของท้องถิ่น

ยิ่งลักษณ์

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2554

การจัดการภาครัฐแนวใหม่

การจัดการภาครัฐแนวใหม่หรือ New Public Management กล่าวได้ว่าเป็นพาราไดม์ (Paradigm) ที่สำคัญที่นักวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ให้การยอมรับในปัจจุบันว่าเป็นกรอบแนวคิดที่ถูกนำมาใช้ในการบริหารภาครัฐในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี โดยที่แนวคิดการบริหารการจัดการภาครัฐแนวใหม่ถูกมองว่าเป็นปรัชญาการบริหารที่รัฐบาลนำมาใช้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้การบริหารภาครัฐมีความทันสมัย (New Public Management is a management philosophy used by Governments since the 1980s to modernise the Public Sector) (Wikipedia Encyclopedia ค้นคืนใน http://en.wikipedia.org/wiki/New_Public_Management) และถ้าจะกล่าวถึงสาระสำคัญของแนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่นี้แล้ว นักวิชาการคนที่สำคัญแรกๆ ที่ได้กล่าวถึงไว้ก็คือ โจนาธาน บอสตัน (Jonathan Boston) และคณะได้สรุปให้เห็นสาระสำคัญของการจัดการภาครัฐแนวใหม่ไว้ ดังต่อไปนี้ (Boston 1996)

1. มองว่าการบริหารงานมีลักษณะที่เป็นสากล หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ไม่มีความแตกต่างอย่างเป็นนัยสำคัญระหว่างการบริหารงานของภาคธุรกิจเอกชนและการบริหารงานของภาครัฐ

2. ปรับเปลี่ยนจากการให้น้ำหนักความสำคัญที่เดิมมุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการควบคุมปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากรและกฎระเบียบต่าง ๆ มาเป็นการควบคุมในเรื่องของการผลผลิตและผลลัพธ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือ ปรับเปลี่ยนจากการให้ความสำคัญในภาระรับผิดชอบต่อกระบวนการของการทำงาน (process accountability) มาเน้นภาระรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ (accountability for results) แทน

3. ให้ความสำคัญต่อเรื่องของการใช้ความสามารถหรือทักษะการบริหารมากกว่าการที่ให้ความสำคัญต่อการกำหนดนโยบายแต่เพียงอย่างเดียว

4. ให้ความสำคัญต่อการมอบอำนาจการควบคุมของหน่วยงานกลาง (devolution of centralized power) ไปให้หน่วยงานผู้ปฏิบัติ เพื่อให้ผู้บริหารของแต่ละหน่วยงานมีอิสระและมีความคล่องตัวในการบริหารและการดำเนินงาน

5. เน้นปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานราชการใหม่ให้มีขนาดเล็กลงในรูปแบบของหน่วยงานอิสระในกำกับ โดยเฉพาะการแยกส่วนระหว่างการกำกับดูแลควบคุมที่เป็นภารกิจงานเชิงพาณิชย์และไม่ใช่เชิงพาณิชย์ออกจากกัน รวมถึงแยกภารกิจงานเชิงนโยบายและการให้บริการออกจากกันอย่างเด็ดขาด

6. เน้นการแปรสภาพกิจการของรัฐให้เป็นเอกชน (privatization) และให้มีการจ้างเหมาบุคคลภายนอก (outsourcing) รวมทั้งประยุกต์ใช้วิธีการจัดจ้างและการแข่งขันประมูลงาน (competitive tendering) เพื่อลดต้นทุนและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้สูงขึ้น

7. ปรับเปลี่ยนรูปแบบสัญญาจ้างบุคลากรของภาครัฐให้มีลักษณะเป็นระยะสั้นและกำหนดเงื่อนไขข้อตกลงให้มีความชัดเจนสามารถตรวจสอบได้

8. เลียนแบบวิธีการบริหารจัดการของภาคธุรกิจเอกชน เช่น การวางแผนกลยุทธ์และแผนธุรกิจ การทำข้อตกลงว่าด้วยผลงาน (performance agreement) การจ่ายค่าตอบแทนตามผลงาน การจัดจ้างบุคคลภายนอกให้เข้ามาปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวเฉพาะกิจ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานและการให้ความสำคัญต่อการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์การ (corporate image)

9. มีการสร้างแรงจูงใจและให้รางวัลตอบแทนในรูปของตัวเงิน (monetary incentives) มากขึ้น

10. สร้างระเบียบวินัยและความประหยัดในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ โดยพยายามลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเพิ่มผลผลิต

นโยบายพรรเพื่อไทย

:: นโยบายพรรคเพื่อไทย ::

ดำเนินการสร้างระบบรถไฟฟ้าให้ครบทั้ง 10 สาย ในกทม. โดยเก็บค่าบริการ 20 บาท ตลอดสาย
ทำรถไฟความเร็วสูง ไปเชียงใหม่, โคราช และระยอง
ขยายแอร์พอร์ตลิงค์ ไปฉะเชิงเทรา ไปชลบุรี ไปพัทยา
ทำรถไฟรางคู่เชื่อมชานเมืองทั้งหมด
ทำเขื่อนลึกลงไปในทะล 10 กม. ความยาวประมาณ 30 กม. ตั้งแต่สมุทรสาคร ถึง ปากน้ำ โดยไม่ต้องกู้เงิน โดยทำเขื่อนแล้วถมทะเลลงไป ได้พื้นที่ใหม่ประมาณ 300 ตารางกม. ประมาณเกือบ 2 แสนไร่ โดยมีต้นทุนในการถมทรายตกประมาณตารางวาละ 12,000 บาท ทำให้เราได้เมืองใหม่ทั้งเมือง
ปรับปรุงลุ่มน้ำทั้ง 25 ลุ่มน้ำ รวมถึงดึงน้ำจากประเทศเพื่อนบ้าน เขื่อนฮัจจี จากพม่า เขื่อมน้ำงึม จากลาว หรือ สตึงนัม จากกัมพูชา โดยเราจะไม่ทะเลาะกับเพื่อนบ้าน
ทำสะพานเศรษฐกิจเชื่อม 2 ฝั่งระหว่างอันดามันกับอ่าวไทย โดยคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม และไม่ทับพื้นที่ของพี่น้องมุสลิมที่ใช้เป็นสุสาน
จัดการยาเสพติดให้หมดภายใน 12 เดือน
ขจัดความยากจนให้หมดใน 4 ปี
พักหนี้ครัวเรือนที่ต่ำกว่า 5 แสนบาท อย่างน้อย 3 ปี
ดำเนินการแจกแท็บเล็ต พีซี ให้เด็กไปโรงเรียนทุกคน ให้มีสัญญาณวายฟาย (Wi-Fi ) ฟรี ในที่สาธารณะ ให้ผู้ให้บริการติดตั้งให้รัฐบาลฟรี
คืนภาษีให้กับผู้ซื้อรถคันแรก อย่างเช่น รถราคา 5 แสนบาท จะได้คืนภาษี 1 แสนบาท ราคาก็จะเหลือประมาณ 4 แสนบาท
ปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 30 เป็น 23 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2555 และเป็น 20 เปอร์เซ็นต์ในปี พ.ศ. 2556 เพื่อบริษัทไปขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำของผู้ที่จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาท
แรงงานขั้นต่ำเริ่มที่ 300 บาทต่อวัน
ทำให้สนามบินสุวรรณภูมิให้เป็นศูนย์กลาง(Hub)อย่างแท้จริง พร้อมกับทำเรื่องวีซ่าฟรีกับนักท่องเที่ยวจากประเทศตะวันออกกลาง
สามจังหวัดชายแดนใต้ พรรคเพื่อไทยจะใช้นโยบายจับเข่าคุยกันและคุยกับมาเลเซียด้วย โดยใช้นโยบาย เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา โดยจะพิจารณาการเป็นเขตปกครองพิเศษ เหมือนกทม. เพื่อให้มีการเลือกตั้งท้องถิ่น เพื่อแก้ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อสร้างความมั่นคงและความสุขของพี่น้องมุสลิม
ผลิตข้าวได้เท่าไหร่ ก็ได้ราคาขั้นต่ำเท่าของรัฐบาล ข้าวเปลือกขาวเกวียน 15,000 บาท ข้าวหอมมะลิเกวียนละ 20,000 บาท
จัด Training Center ให้อาชีวะ และ ใช้หลักการ ให้ทุนการศึกษาแบบ “เรียนก่อน ผ่อนทีหลัง

ประวัตินายกคนปัจจุบัน

ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (ชื่อเล่น: ปู) เกิด เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2510 นายกรัฐมนตรีคนที่ 28 และหญิงคนแรกของประเทศไทย และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยสังกัดพรรคเพื่อไทย กรรมการและเลขานุการมูลนิธิไทยคม

ยิ่งลักษณ์ เกิดในจังหวัดเชียงใหม่ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยเคนทักกีสเตต ในสาขารัฐประศาสนศาสตร์ทั้งคู่ ต่อมาเป็นผู้บริหารในธุรกิจซึ่งก่อตั้งขึ้นโดย พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ผู้เป็นพี่ชาย และภายหลังเป็นประธาน บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานกรรมการบริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (เอไอเอส)

ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอชื่อยิ่งลักษณ์เข้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พรรคเพื่อไทยได้ผู้แทนราษฎร 265 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎร นับเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ไทย ที่พรรคการเมืองพรรคเดียวครองเสียงข้างมากในสภา จากนั้นยิ่งลักษณ์ได้รับเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร เมื่อ วันศุกร์ ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี สืบต่อจากอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังจากนั้น ในวันดังกล่าวยังไม่มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ผู้แทนราษฎร เฝ้าฯ ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลศิริราช จันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554 หลังจากนั้น จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งลงมา ในวันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

แนวความคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการเมือง
เราอาจเคยสงสัยและตั้งคำถามว่า เหตุใดมนุษย์จึงต้องปกครองกัน ทำไมไม่ปล่อยให้มนุษย์อยู่กันเอง กระทั่งอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า การเมืองกับการปกครองเป็นเรื่องใกล้ตัว ซึ่งหลายคนจำเพาะในกลุ่มผู้ที่ขาดความสนใจต่อความเป็นมาเป็นมาในกิจการทางการเมืองอาจฟังดูไม่กระจ่างนัก ว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวประการใด
คำตอบต่อความสงสัยข้อแรกนั้นโยงใยไปถึงความข้อต่อมากล่าวคือ มนุษย์นั้นโดยธรรมชาติเป็นสัตว์สังคม ที่ต้องอาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นหมู่คณะ เมื่อมนุษย์มาอยู่รวมกัน หากมิได้กำหนดกติกาอะไรสักอย่างขึ้นมากำกับการอยู่รวมกันของมนุษย์แล้วนั้น มนุษย์ด้วยกันเองยังเชื่อว่าน่าจะก่อให้เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้นในสังคมและการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ เนื่องจากโดยธรรมชาติของมนุษย์นั้น ป่าเถื่อน ขลาดกลัวและไม่เป็นระเบียบดังที่ โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) นักปรัชญาการเมืองโบราณ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1588-1679 ได้เคยกล่าวไว้ในผลงานปรัชญาการเมืองเลื่องชื่อเรื่อง “Leviathan” ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1651 ว่า เมื่อมนุษย์จำต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมภายใต้กติกาแล้ว ก็จำเป็นอยู่ในตัวเองที่จะต้องกำหนดตัวผู้นำมาทำหน้าที่ควบคุมดูแลให้สังคมหรือการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ดำเนินไปได้ด้วยความเรียบร้อย เช่นที่กล่าวมาเราคงพอจะทราบบ้างแล้วว่าเหตุใดจึงเกิดมีระบบการปกครองขึ้น
และโดยนัยที่มนุษย์จำต้องปกครองกันนั้น หากเกิดปัญหาขึ้นในระหว่างมนุษย์ด้วยกัน หรือการจะทำให้สังคมมีความเจริญก้าวหน้าขึ้นไป หลีกเลี่ยงมิได้เสียที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจทางการเมือง อันมีความหมายและบริบทที่สะท้อนออกมาในเรื่องของการใช้อำนาจเพื่อการปกครองประชาชน การเมืองการปกครองซึ่งเป็นสภาพการณ์และผลที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (Eulau 1963, 3) จึงเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับชีวิตของมนุษย์อย่างมิอาจปฏิเสธได้ ซึ่งก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ใดก็ตาม จำเป็นต้องให้ความสนใจกับเรื่องการเมืองการปกครองไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากสิ่งใดที่ออกมาจากสถาบันทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายนิติบัญญัติที่ทำหน้าที่ในการตรากฎหมายต่าง ๆ เพื่อบังคับใช้ มาจากรัฐบาลในรูปของนโยบายสาธารณะ (Public Policies) โครงการพัฒนา (Developmental Program) และงานต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นหรือดำเนินไปโดยภาคราชการ รวมไปถึงการตัดสินคดีความหรือข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลต่อบุคคล และบุคคลกับรัฐ เหล่านี้ล้วนแต่เป็นเรื่องที่การเมืองส่งผลกระทบต่อทุกคนอย่างที่ไม่อาจมองข้ามไปได้
โดยบริบทดังกล่าวการศึกษาเรื่องการเมืองและการปกครองของประเทศ จึงเป็นสิ่งที่ถูกบรรจุอยู่ในแทบทุกสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษาให้นักศึกษาได้ร่ำเรียน ทำความรู้ความเข้าใจในฐานะที่อย่างน้อยก็เป็นสมาชิกคนหนึ่งในสังคม และเป็นเรื่องภาคราชการทั้งหลายต่างรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป ภายใต้ความมุ่งประสงค์ที่จะหยั่งรากประชาธิปไตยในสังคมไทย และหากได้มองย้อนไปถึงแนวคิดของนักปรัชญาการเมืองโบราณเช่น อริสโตเติล (Aristotle) ปรัชญาเมธีชาวกรีกโบราณ ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์” ผู้กล่าวไว้ว่า มนุษย์ตามธรรมชาติเป็นสัตว์การเมืองต้องอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มหรือชุมชน อันแตกต่างไปจากสัตว์โลกอื่น ๆ ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ด้วยสัญชาตญาณเป็นหลัก หากแต่มนุษย์ นอกจากจะอยู่ด้วยสัญชาตญาณแล้ว ยังมีเป้าหมายอยู่ร่วมกันอีกด้วย ดังนั้นการอยู่ร่วมกันของมนุษย์จึงมิใช่มีชีวิตอยู่ไปเพียงวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น หากแต่เป็นการอยู่ร่วมกันเพื่อจะให้มีชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย เราก็จะมองเห็นภาพของการเมืองในแง่หนึ่งว่าการเมืองนั้นก็คือ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ในชุมชนหรือสังคมเพื่อให้มีความสงบสุข

การเมืองไทย